การทำงานเป็นทีมของครูในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 11 แก่งเค็ง-หนองทันน้ำสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

Main Article Content

ทัศนีย์ ลูกโม
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรรม
สิทธิพร นิยมสมศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครูในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 11 แก่งเค็ง-หนองทันน้ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2  และเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 11 แก่งเค็ง-หนองทันน้ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ   ใช้แนวคิดของสโทรฮ์นอร์ทคราฟท์และเนลลี กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 11แก่งเค็ง-หนองทันน้ำ จำนวน 108 คน ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ผู้วิจัยนำมาสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้โรงเรียนเป็นชั้น จากนั้นสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การทำงานเป็นทีมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีระดับการทำงานเป็นทีมของครูสูงที่สุดคือด้านบทบาทของสมาชิกและด้านที่มีระดับการทำงานเป็นทีมของครูต่ำที่สุดคือ ด้านบรรทัดฐานของทีม

  2. การเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 11แก่งเค็ง-หนองทันน้ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ที่มีประสบการณ์การสอนต่างกันมีการทำงานเป็นทีมโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ลูกโม ท., สมพงษ์ธรรรม เ. ., & นิยมสมศักดิ์ ส. . . (2020). การทำงานเป็นทีมของครูในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 11 แก่งเค็ง-หนองทันน้ำสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 290–304. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247799
บท
บทความวิจัย

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกาขั้นพื้นฐาน.(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์และคณะ. (2545). การสร้างทีมงานทีมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ต.

ณัฐพร ธนกรศุภเลิศ. (2558). การทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสหวิทยาเขตกรุงเทพตะวันออก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

นันท์นภัส บุญสาลี. (2560). การทำงานเป็นทีมของครูอำเภอลาดบัวหลวงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ปองปรัชญ์ บือราแง. (2554). การทำงานเป็นทีมที่มีผลต่อการสร้างบรรยากาศองค์การ: กรณีศึกษา สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2545). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2542). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา: ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแสง.

สุนันทา เลาหนันท์. (2540). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: แฮนด์เมดสติกเกอร์แอนด์ดีไซน์.

สุรีพร พึ่งพุทธคุณ. (2549). การบริหารจัดการทีม. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

อรัญญา วัชรธรรม. (2552). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : การปรับตัวทางการบริหารขององค์กร. วารสารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(2), 30.

อัจฉรา ชุนณะวงค์. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต). มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี.

อินทิรา อินทโชติ. (2555). การศึกษาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607- 610.

Stroh, L. K., Northcraft, G. B., & Neale, M. A. (2002). Organizational Behavior: A Management Challenge. (3rd ed.) New Jersey: Lawrence Erlbaum.