พระสงฆ์กับการขับขี่ยานพาหนะ: ความจำเป็นหรือจงใจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องยานพาหนะที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมของพระสงฆ์ต่อการขับขี่ยานพาหนะ ผลการศึกษาพบว่า ยานพาหนะที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ยาน หมายถึง เครื่องนำไป พาหนะต่างๆ เช่น เรือ วอ รถเกวียน คานหาม แคร่ เปลหาม พระพุทธเจ้าทรงไม่อนุญาตการโดยสารยานพาหนะ ของพระภิกษุ แต่ทรงอนุญาตคานหามเฉพาะภิกษุที่อาพาธเท่านั้น การเรียนวิขาการขับรถจัดว่าเป็นดิรัจฉานวิชา การขี่รถ ขี่ช้าง ขี่ม้า วิ่งผลัดรถ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม พระสงฆ์ไม่ควรกระทำเพราะทำให้ชาวบ้านไม่เลื่อมใส และความเหมาะสมของพระสงฆ์ต่อการขับขี่ยานพาหนะ สรุปได้ว่า พระสงฆ์ในปัจจุบันไม่สมควรขับขี่รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ ด้วยมีกฎหมายที่กำหนดใบอนุญาตขับขี่สำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะที่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถ การขับขี่ยานพาหนะของพระสงฆ์เป็นการไม่เหมาะสม แต่น่าจะอนุโลมได้หากมีความจำเป็นจริงๆ อาทิ อาพาธ หรืออยู่ในถิ่นทุรกันดาร เป็นต้น
Article Details
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 119). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2555.
พันธ์ทิพย์. (2 กุมภาพันธ์ 2560). พระสงฆ์ขับรถยนต์ ไม่ผิดพระธรรมวินัย แต่ไม่เหมาะสม. แหล่งที่มา: http://www.itti-patihan.com/.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
ราชกิจจานุเบกษา. (2557). พระราชบัญญัติ (รถยนต์ ฉบับที่ 17) พ.ศ.2557. เล่มที่ 131 ตอนที่ 83 ก 23 ธันวาคม 2557.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2522). พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522. 18 มกราคม 2522.
Ch7 news. (28 ม.ค. 2560). พระสงฆ์ ควบเก๋งรถชนรถฤษีที่ จ.กาฬสินธุ์. แหล่งที่มา: http://news.ch7.com/detail/212041/.