ความต้องการของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ต่อ การสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ต่อการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของบุคลากรต่อการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา จำแนกตามประเภทบุคลากร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน และนักศึกษา โดยพิจารณาจากผู้ทำงานในสถานศึกษาที่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยบุคลากรที่ตอบแบบสัมภาษณ์มี 18 คน ส่วนบุคลากรที่ตอบแบบสอบถามมี 100 คน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองมีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ .94 ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรส่วนใหญ่ต้องการให้เปิดสอนในระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตรศึกษา เพราะต้องการพัฒนาและได้รับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น โดยต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด และบุคลากรทางการสอนวิทยาศาสตร์ที่ต่างกันมีความต้องการการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่าหลักสูตรที่ควรเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาควรเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตรศึกษาเพื่อเพิ่มความรู้วิทยาศาสตร์แก่บุคลากร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าบุคลากรส่วนใหญ่คิดว่าการศึกษาของไทยยังขาดคุณภาพ ถ้าเพิ่มความรู้ให้ผู้สอนน่าจะทำให้ผู้สอนถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชนได้ดีขึ้น
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จึงสามารถนำไปจัดทำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตรศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
Article Details
References
คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึก. (2556). สี่สิบสองปีมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณพัฐอร บัวฉุน นฤมล ยุตาคม และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2559). สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 97 – 109.
ไทยเว็บอีซี่. (2563). Digital Education การศึกษาบนโลกดิจิตัล กับผู้เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 [บทความ]. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก https://www.thaiwebeasy.com/new_it_detail.php?news_it=7
ปุณฑรารัตน์ นาชัยโชติ. (2561). แนวคิดและทฤษฎีAbraham H. Maslow. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, http://phunthararat.blogspot.com/2018/11/abraham-maslow.html
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). แนวการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1),136–154.
สุพัตรา หนูเอียด. (2559).ความต้องการของชุมชนต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กลุ่มงานแผนงานและสารสนเทศ ส่วนนโยบายและแผนการศึกษาสำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Greedisgoods. (2019). ERG Theory. Retrieved August 23, 2020, from https://greedisgoods.com/erg-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/