บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในอำเภอบุณฑริกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

ณัฏฐินี มหานิติพงษ์
สุรางคนา มัณยานนท์
สุรศักดิ์ หลาบมาลา
ปิยานี สมบูรณ์ทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาบทบาทของผู้บริหาร 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 230 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา  จำนวน 45 คน และครูผู้สอนจำนวน 185  คน  โดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1)  บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


3) ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สรุปได้ 6 ประเด็น


สรุปผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขนาดที่ 1 กับขนาดที่ 2 มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขนาดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าขนาดที่ 1

Article Details

How to Cite
มหานิติพงษ์ ณ., มัณยานนท์ ส. ., หลาบมาลา ส., & สมบูรณ์ทรัพย์ ป. . (2020). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในอำเภอบุณฑริกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 43–58. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247739
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพ ฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ดวงกมล กิ่งจำปา. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ศศิกาญจน์ แปงงามนวกุล. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. พะเยา). มหาวิทยาลัยพะเยา

สัญญา วุฒิสาร (2559). การศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2, 647-671.

สาวิกา จันทร์หอม. (2550). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษาของโรงเรียนดาราวิทยาลัย (การค้นคว้าอิสระศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวัฒน์ ดอนทอง. (2558). แนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Krejcie, R.V. & Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education

and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.