ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนตำบลแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนตำบลแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในกลุ่มโรงเรียนตำบลแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน โดยศึกษาตามองค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนไว้ 3 องค์ประกอบใหญ่ และ 11 องค์ประกอบย่อยของ ฮอลลิงเจอร์ และเมอร์ฟี่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนตำบลแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การจัดการด้านการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียน และด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน
Article Details
References
ครรชิต ชัยกิจ, ละเอียด จงกลนี และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการและพุทธวิธีในการจัดการศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 165-175.
จันจิรา น้ำขาว. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 389-402.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(2), 14-29.
ธงธิภา วันแก้ว และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำในทศวรรษหน้าของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 399-408.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์.
ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร. (2563). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 591-600.
มยุรี วรรณสกุลเจริญ และ ชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 193-204.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการกระจายการบริหารและการจัดการให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Damnoen, P.S.P. & Phumphongkhochasorn, P. (2020). National Educational Standards and Educational Administration to Comply with International Standards. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 4(1), 31-39.
Damnoen, P.S.P., Phumphongkhochasorn, P., Songsraboon, R. & Thongtao, J. (2021). The Development of a Large Schools Management according the King’s Philosophy Model. Psychology and Education Journal, 58(1), 1615-1621.
Hallinger, J. S. and Murphy, S.L. (1985). Work Stress and Social Support. Massachusetts: Addison–Wesley Publishing Company.