การศึกษาภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

Main Article Content

อนุพันธ์ พูลเพิ่ม
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
ชารี มณีศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน จำแนกตามขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวนรวมทั้งสิ้น 202 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของเซฟเฟ่ Scheffe’


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
พูลเพิ่ม อ., สมพงษ์ธรรม เ., & มณีศรี ช. (2020). การศึกษาภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 74–89. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247603
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ ไชยมาตย์. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอโพนสวรรค์จังหวัดนครพนม (การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.

ขวัญตา เกื้อกูลรัฐ. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ขนาดกลาง อำเภอโพธาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชนชญา สังข์พญา. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 318-333.

ทิพวัลย์ ชาลีเครือ (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง(ภาคนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วชิระ ดวงมาตย์พล. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2),195 – 204.

วรเทพ ภูมิภักดีพรรณ. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. (2561). รายงานการประเมินตนเอง (พ.ศ. 2561). อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2556). ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้น (The Transcendental Leadership). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://suthep.crru.in.th.

สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิวิชญ์ ตันตุลา. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9 (2), 154 – 206.

เอกวัฒน์ ดันงา. (2554). ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนของผู้บริหารตามทรรศนะของผู้บริหารและครู โรงเรียนในเครือข่ายอำเภอธาตุพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครพนม.

Achua, Christopher F. andLussier, Robert N. (2010). Effective Leadership (4th ed. ). Canada: Nelson Education,Ltd.

Bass, B.M. (1990). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.

Bass, B.M. , & Avolio, B. J. ( 1994) . Transformational leadership development. Pola Alto, California : Consulting Psychologists Press.

Bass, B.M. (1999) . Transformational leadership: Industrial, military, and education. mahwah. NJ: Lawrence Erlbaum.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.

Cardona, P. (2000). Transcentdental leadership. Leadership& Organization Development Journal, 21(4), 201-207.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Gardiner, M. & Enomoto, E. (2006). Urban School Principals and Their Role as Multicultural Leaders. Urban Education, 41(6), 560-584.

Yukl, G. A. (2010). Leadership in organizations (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.