ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

ธนพัฒน์ อินทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา โดยการศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกำหนดขอบเขตในพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน จากผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา สามารถจัดกลุ่มได้ 6 องค์ประกอบ ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงควรสนับสนุนองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน เพื่อจัดกลุ่มการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 คือด้านอิทธิพลชักจูงจากบุคคลอื่นๆ องค์ประกอบที่ 2 คือ ด้านผลผลิต และคุณภาพ องค์ประกอบที่ 3 คือ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 4 คือ ด้านความน่าเชื่อถือของสถาบัน องค์ประกอบที่ 5 คือ ด้านค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร องค์ประกอบที่ 6 คือ ด้านสภาพแวดล้อม

Article Details

How to Cite
อินทวี ธ. (2021). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247552
บท
บทความวิจัย

References

กรธัช อยู่สุข. (2556). ศึกษาปัจจัยที่ควรพิจารณาในการ เรียนต่อด้าน MBA : “11 Cs to Consider in MBA Course”. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/422667.

กฤษณ์ บุตรเนียน. (2554). ปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดปราจีนบุรี(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :บริษัทธรรมสาร.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.

ปวิณ พงษ์โอภาส, สมพร พวงเพ็ชร และรัชชนก สวนสีดา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี.วารสารการจัดการ, 5(1), 26-33.

รสริน ศรีริกานนท์. (2555). “การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วรรณกาญจน์ กันธอินทร์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกคณะเพื่อศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกรณีศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์. (2550). เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จาก www.tsu.ac.th/grad/report_/files/06044949200949.doc.

ศรีวรรณา ขวัญชุมและ อาณัติ ปาลพันธุ์. (2554). แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2553. กรุงเทพมหานคร: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล.

ศศิวิมล แสนเมือง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของนักเรียนที่มีผลการเรียนดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สามารถ โมราวรรณ และไพโรจน์ เกิดสมุทร. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(1), 37-48.