ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตะเคียนลมศักดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Main Article Content

ศุภศาสตร์ พลคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยศึกษาโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตะเคียนลมศักดิ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตะเคียนลมศักดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 66 คน ที่คัดเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้โรงเรียนเป็น ชั้นของการสุ่ม ด้วยวิธีการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน จาก ประชากรจำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบวัคภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 ข้อ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 ตอนที่ 2 เป็นแบบวัดความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานของครู จำนวน 25 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .83 วิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยมีความสัมพันธ์กัน คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์  และ การกระตุ้นปัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลณัฐ เหมราช, พิทักษ์ นิลนพคุณ, อุษา คงทอง และ วรสรณ์ เนตรทิพย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 46-59.

เชษินีธ์ แสวงสุข. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธวัช บุณยมณี. (2550). ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธันตกร ไชยมงคล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงกันความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นรินทร์สุดา พันธฤทธ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันกับองค์กรของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชาภพ พันธ์แพ. (2554). ผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ลือชา เสถียรวีรภาพ. (2550). ภาวะผู้นำกับความพึงพอใจในการทำงานของผู้ใต้บังกับบัญชา : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่งในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ(วิทยานิพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวรรณา คำมา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).สถาบันราชภัฏเลย.

Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectations. New York: Free Press.

Bass. B.M. and Avolio. B.J. (1999). Imploring Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. California: Consulting Psychologists Press.

Cook, C. W., Hunsaker, P. and Coffey, R. E. (1997). Management and Organizational Behavior. Boston: Irwin McGraw-Hill.

Phrapalad Somchai Payogo (Damnoen) and Phumphongkhochasorn. P. (2020). The Development of the Innovative Model of School Administration in the Secondary Education Area Office 18. Solid State Technology, 63(2s), 2058-2065.