รูปแบบการพัฒนาและการหาประสิทธิภาพชุดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์ เบอร์PIC16F877 กับงานอุตสาหกรรมเครื่องคัดแยกโลหะหนัก

Main Article Content

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดทดลองชุดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์ เบอร์PIC16F877 กับงานอุตสาหกรรมเครื่องคัดแยกโลหะหนัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ชุดทดลองและเครื่องมือที่ใช้หาประสิทธิภาพแบบประเมินความเหมาะสมของชุดทดลองสำหรับผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ รหัสวิชา 03376807 หลักสูตรครุศาสตร์วิศวกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 23 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์ เบอร์PIC16F877 กับงานอุตสาหกรรมเครื่องคัดแยกโลหะหนัก ใบงาน แบบประเมินคุณภาพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่าการใช้ชุดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์ เบอร์PIC16F877 กับงานอุตสาหกรรมเครื่องคัดแยกโลหะหนัก ที่พัฒนาขึ้นผ่านการประเมินจาก 5 ผู้เชี่ยวชาญในระดับดีมาก ด้านการประเมินความพึงพอใจผ่านการประเมินจากนักศึกษาในระดับดีมากและประสิทธิภาพของชุดทดลองที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 81.22/88.80 ซึ่งพบว่าใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดยภาพรวมถือว่าชุดทดลองที่พัฒนาขึ้น 80/80 เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอในวิชาวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 


คำสำคัญ :ชุดทดลอง,ไมโครคอนโทรลเลอร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อน ประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. จาก http://www.libarts.up.ac.th/v2 /img/Thailand-4.0.pdf

จารุวัฒน์ มณีศรี. (2552). การพัฒนาชุดฝึกการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม วิชาระบบ สื่อสารดาวเทียม ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ณัฐพงศ์ แก้ววงศ์. (2553). การพัฒนาชุดฝึกวงจรเครื่องขยายเสียง วิชา เครื่องเสียงตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยี

พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ดอนสัน ปงผาบ. (2550). ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC และการประยุกต์ใช้งาน. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริม

เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พิศิษฐ์ เฮ่งจินดา. (2556). การพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพชุดทดลองเซ็นเซอร์ควบคุมด้วยโปรแกรม Lab View(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ยุทธพิชัย กล้าหาญ. (2546). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดปฏิบัติการวงจรกรองความถี่วิชาออปแอมป์และไอซี หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2546(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2559). อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) กับการศึกษา Internet of Things on Education. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), 83 – 92.

สุประวิทย์ เมืองเจริญ. (2559). การพัฒนาและสร้างชุดทดลองการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์กับงานคัดแยกวัตถุ(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลสุวรรณภูมิ.

อดิเทพ ไข่เพชร. (2546). การสร้างชุดการสอนวิชาไมโครโปรเซสเซอร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

อนิวรรตน์ พลรักษ์ และ สมศักดิ์ อรรคทิมากูล. (2556). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมเรื่องไมโครคอนโทรลเลอร์และการประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์พื้นฐาน(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ