พุทธวิธีสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ

Main Article Content

อรชร ไกรจักร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพุทธวิธีสร้างความเข็มแข็งทางอารมณ์ในการประคับประคองชีวิตมนุษย์  โดยมุ่งเน้นกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ  ถึงแม้คำว่า พยาบาลวิชาชีพ จะไม่มีปรากฏในพุทธกาล การศึกษาพระไตรปิฎก พบว่า พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญในการดูแลภิกษุป่วยไข้ด้วยความรักในชีวิตของภิกษุป่วยไข้  พระพุทธองค์จะปูพื้นฐานจิตเพื่อให้เตรียมความพร้อมที่จะรับฟังอริยสัจจ์และกล่าวธรรมตามลำดับ เพื่อแสดงถึงพุทธวิธีการพยาบาลให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นถึงการใช้พุทธวิธีเพื่อการจัดการอารมณ์โกรธ ความโศรกเศร้า เสียใจ กังวลใจของภิกษุป่วยไข้


ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางสังคมซึ่งเป็นหลักความจริง คือ วิถีชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมของภาวะเศรษฐกิจโลกที่เจริญด้านวัตถุนิยม ความเจริญระบบเทคโนโลยี ส่งผลกระทบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ที่เป็นอารมณ์ฝ่ายอกุศลมากกว่าอารมณ์ฝ่ายกุศลได้นำพาการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามความคาดหวังที่ขัดกับความความจริงแท้สากล  ฉะนั้น พุทธวิธีสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพและการปรับกระบวนทัศน์เรื่องจริยธรรมคุณธรรมสำหรับวิชาชีพพยาบาล เชื่อมโยงผสมผสานประยุกต์ใช้เพื่อปรับวิถีชีวิตพยาบาลให้สอดคล้องตามหลักพระศาสนาแนวทางความประพฤติที่เหมาะสมกับคุณลักษณะในการประคับประคองชีวิตใกล้ชิดผู้ป่วยและญาติด้วยรากฐานของอารมณ์ที่มั่นคง การปลูกฝังความฉลาดทางอารมณ์ ตระหนักรู้  หลักการ วิธีการ เริ่มต้นจากการปลูกฝังคุณธรรมลงในใจอาศัยการปฎิวัติจิตสำนึก  ผลลัพธ์ เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพนั้นมีคุณลักษณะความเข้มแข็งทางอารมณ์ 2 ข้อ คือ 1) มีความฉลาดทางอารมณ์เฉพาะบุคล 2) การใช้ความฉลาดทางอารมณ์ของตนเองเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้าง เพื่อเติมเต็มบุคลิกภาพสะท้อนภาพลักษณ์ของพยาบาลวิชาชีพอันเป็นที่ยอมรับกันมาโดยตลอดให้มีความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบนำไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา.
จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. (2552). แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
บำเพ็ญ เขียวหวาน. (2555). สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมการเกษตร.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้ กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สูศักยภาพเสรีภาพและความสุข.กรุงเทพฯ: กรีน-ปัญญาญาณ.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2552). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.
พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2554). สัมมาวาจา. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สีวลี ศิริไล. (2553). จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๓
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A Social cognitive view. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Florence, N. (1969). Notes on nursing: what it is and what it is not. New York: Dover.
Pfettscher, S. A. (2010). Florence Nitghtingel : Modern Nursing”, in Nursing Theorists and Their Work. (7th ed.). edited by Alligood, Martha Raile and Tomey, Ann Marriner. Missouri: Mosby Elsevier.
Seed house, D. (2000). Practical Nursing Philosophy: The Universal Ethical code. Chic ester: John Wiley and Sons.
Stokols, P. (1996). Translating social ecological theory into guidelines for community health promotion. American Journal of Health Promotion,10(40), 280 – 293.