การประยุกต์กุลจิรัฏฐิติธรรมเพื่อลดภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน

Main Article Content

การุณ รักษาสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของกระบวนการการเกิดภาวะโลกร้อน และสืบค้นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน ตลอดจนถึงผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นและจักเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาภาวะโลกร้อน และเพื่อประยุกต์ใช้หลักธรรมกุลจิรัฏฐิติธรรม ในการปลูกจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้มีทั้งสาเหตุที่เกิดขึ้นจากกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของระบบธรรมชาติเอง และจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่ขาดความสำนึกรับผิดชอบในการดำเนินชีวิตซึ่งมีพฤติกรรมในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่มีการยับยั้งชั่งใจ ขาดจิตสำนึกในการร่วมมือกันเพื่อฟื้นฟูและร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ขาดการประนีประนอมระหว่างมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ


ดังนั้น เมื่อมนุษย์รู้จักนำหลักธรรมดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ จะช่วยทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้อย่างประนีประนอม โดยไม่ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ต้องมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ต้องรู้จักวิธีการฟื้นฟู (นัฏฐคเวสนา) และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป (ชิณณปฏิสังขรณา) รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จำต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยการคำนึงถึงแต่คุณค่าแท้ให้มากขึ้นกว่าการบริโภคด้วยการคำนึงถึงแต่เฉพาะคุณค่าเทียม (ปริมิตปานโภชนา) และมนุษย์จะสามารถทำดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้ก็ด้วยเพราะมนุษย์นั้นเป็นผู้มีศีลธรรม (อธิปัจจสีลวันตสถาปนา)

Article Details

How to Cite
รักษาสุข ก. . . (2020). การประยุกต์กุลจิรัฏฐิติธรรมเพื่อลดภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(2), 65–74. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247433
บท
บทความวิชาการ

References

คณิน บุญสุวรรณ. (2542). สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญใหม่. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2547). ศาสนา ชีวิต และสังคม. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2551). ตำนานสาลิกาป้อนเหยื่อ. กรุงเทพฯ: เชนปริ้นติ้ง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์ พริ้นติ้ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2551). การศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.