ศีล 5 กับการจัดการเพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

Main Article Content

พระศรีรัตนวิมล

บทคัดย่อ

ในพระพุทธศาสนาถือว่ากิเลสของมนุษย์เราเป็นที่มาและเป็นต้นเหตุของการทำลายล้างกันคือ ความโลภในทรัพย์สินเงินทอง โกรธมีโทสะอันเนื่องมาจากการขัดใจกันด้วยอาการต่าง ๆ และโมหะคือความหลงทั้ง 3 นี้เป็นรากเง้าของความชั่วทุกย่าง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม  ต้องอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นพวก  นับตั้งแต่เกิดจนตาย  เมื่อมีการ   พึ่งพาอาศัยกันในการดำเนินชีวิตจึงมีการแก่งแย่งผลประโยชน์กันอยู่เสมอ  เพื่อมิให้คนเหล่านั้นมีความเห็นแก่ตัวอย่างไม่มีขอบเขต จึงต้องมีกฎข้อบังคับให้ทุกคนได้ถือปฏิบัติร่วมกันทั้งนี้ก็เพื่อความสงบสุขต่อตนเองและสังคม แท้ที่จริงแล้วธรรมชาติสร้างทุกสิ่งมาเพื่อให้ผสมกลมกลืนกันกับธรรมชาติ แต่ความกลมกลืนนั้นถูกทำลายลงด้วยฝีมือของมนุษย์ จึงมีผู้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องมีเครื่องมือในการรักษาดูแลดุลยภาพแห่งความเหมาะสมกลมกลืนนั้นได้ และสิ่งนั้นไม่ยากเกินไปที่คนทั่วไปจะทำตามได้ ศีล 5 เป็นหลักของมนุษยชาติที่มีมาแต่เก่าก่อนจึงไม่เป็นการยากนักที่จะประพฤติปฏิบัติตามกฎของศีล 5 ใครก็ตามที่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามหลักของศีล 5 แล้วย่อมไม่มีการสรรเสริญจากบัณฑิต จะมีก็แต่คำติเตียนเท่านั้น เพราะการเบียดเบียนกัน การลักขโมยกันเป็นต้น ไม่ใช่วิสัยที่มนุษย์ผู้มีจิตใจสูงจะพึงกระทำ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระครูปลัดสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน. (2563). การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมในยุคโควิค 19. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 115-128.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด : อธิบายศัพท์และความหมายที่ชาวพุทธควรรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันบันลือธรรม

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระเมธีวชิรภูษิต (จำเนียร จิรวํโส). (2561). พุทธวิธีในการวางแผนบริหารองค์การอย่างเฉียบขาด. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 1-14.

พระโมคคัลลานเถระ. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พระมหาสมปอง มุทิโตแปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประยูรพริ้นท์ติ้ง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สงวน หล้าโพนทัน. (2561). หลักศีล 5 เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์. 2(1),61-80.

สมภาร พรมทา. (2538). ปรัชญาสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.