นักบวชนอกศาสนา: มิติทางสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
พุทธบัญญัติเป็นประโยชน์ทั้งแก่ภิกษุ อุบาสกอุบาสิกา นักบวชนอกศาสนาและคณะสงฆ์โดยส่วนรวม โดยเฉพาะพระพุทธองค์บัญญัติเพื่อห้ามไม่ให้ภิกษุประพฤติตามคำสอนของนักบวชนอกศาสนา ซึ่งจะสร้างความสับสนแก่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน มีแต่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่พุทธบริษัท ไม่ส่งเสริมการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ไม่เป็นไปตามหลักไตรสิขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ทำให้การดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ได้รับความลำบาก กล่าวได้ว่า การที่พระพุทธองค์บัญญัติสิกขาบทเกี่ยวกับนักบวชนอกศาสนานั้นก็เพื่อให้พระสงฆ์ทราบแนวทางปฏิบัติต่อนักบวชนอกศาสนาเพื่อป้องกันความระแวงสงสัยและความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากภิกษุด้วยกัน และอุบาสกอุบาสิกา ขณะเดียวกันก็อาจจะเกิดความระแวงสงสัยและความเข้าใจผิดจากนักบวชนอกศาสนาและสาวก ที่สำคัญสิกขาบทเหล่านี้ช่วยสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติต่อกันระหว่างศาสนาเป็นอย่างดี นักบวชนอกศาสนาผู้ต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเมื่อทราบช่องทางที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนก็จะปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
Article Details
References
ธนิต อยู่โพธิ์. (2526). ไตรสรณคมน์. กรุงเทพฯ: ศิวพร.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด : อธิบายศัพท์และความหมายที่ชาวพุทธควรรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันบันลือธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระโมคคัลลานเถระ. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พระมหาสมปอง มุทิโตแปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทประยูรพริ้นท์ติ้ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รสลิน ศิริยะพันธุ์. (2559). ศาสนาและความเชื่อในสังคมการเมืองไทย. ใน พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของการเมืองไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F.Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.