สันติภาพกับการดำเนินชีวิตในสังคมไทย: มุมมองพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูจริยธรรมานุรักษ์ วัลลภ

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนาได้สอนถึงแนวทางในการประกอบอาชีพการงานอันเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ ลำพังแต่เพียงศีลอย่างเดียวประกันสันติภาพตลอดไปไม่ได้  ทั้งนี้เพราะศีลนั้นเป็นการทำตามความสมัครใจของปัจเจกบุคคลแต่ละคน  ไม่ได้ระบุการลงโทษไว้ดังเช่นกฎหมาย  จึงขึ้นอยู่กับอัธยาศัยของปัจเจกบุคคลแต่ละคนเป็นสำคัญ  ปัจเจกบุคคลต้องรู้จักประยุกต์หรือนำศีลเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดแล้วสังคมมนุษย์ก็จะก้าวเข้าไปใกล้สันติภาพที่มั่นคงถาวรยิ่งขึ้นได้


การนำสันติภาพมาสู่สังคมโลก  ต้องได้มาจากจิตที่บริสุทธิ์เป็นจิตที่ไม่เห็นแก่ตัว  จิตที่ไม่หวังผลตอบแทนเป็นวัตถุสิ่งของ  คนที่มีจิตบริสุทธิ์จะมองโลกด้วยความเมตตากรุณา  และจะเอื้ออาทรต่อคนที่ประสบกับความเดือดร้อนเช่นที่พระพุทธเจ้าได้ทรงทำมาแล้ว ความเป็นจริงแล้วการกระทำอะไรก็ตามจะเริ่มต้นมาจากจุดเล็ก ๆ  ทั้งนั้น  การพัฒนาสังคมให้มีสันติภาพก็เช่นเดียวกัน ต้องเริ่มที่ปัจเจกบุคคลก่อนแล้วจึงนำไปสู่ครอบครัวและจะขยายไปถึงสังคมชุมชนที่หลาย ๆ  ครอบครัวมาอยู่รวมกันจึงเป็นสังคมของคนดีมีความสงบเรียบร้อยอยู่ร่วมกันโดยปรกติสุข พระพุทธศาสนาสอนให้ปัจเจกบุคคลดับเหตุแห่งทุกข์  และความสุขก็เกิดจากการประพฤติดีของปัจเจกบุคคลนั้นเอง  ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติถูกต้องตามที่ทรงแสดงไว้ได้ก็จะช่วยให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามได้รับความสงบสุขจริง ๆ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจมส์ โค และคณะ. (2545). คู่มือการเพิ่มพลังความสามารถกระบวนการจัดการข้อพิพาท. วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ (ผู้แปล). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

บุญมี แท่นแก้ว. (2538). จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พจำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2553). การบูรณาการพุทธิปัญญาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.

พระราชวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2536). การสั่งสมบุญ ด้วยการรักษาศีล. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.

เพชร ทองหมื่นไวย. (2559). ศีลในฐานะเป็นพื้นฐานของมนุษย์. ธรรมทรรศน์, 16(2), 191-202.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). เบญจศีลและเบญจธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.