โต้ง : หมอพื้นบ้านทวารวดีกับวิถีอดีตสู่สาธารณสุขปัจจุบัน

Main Article Content

สุนันทา เอ๊าเจริญ

บทคัดย่อ

หมอชาวบ้าน หรือ หมอพื้นบ้านเป็นผู้ดูแลสุขภาพและรักษาโรคให้กับผู้ป่วยในท้องถิ่นนั้นๆ โดยใช้องค์ความรู้และวิถีปฏิบัติที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมท้องถิ่นและมีอัตลักษณ์เฉพาะ เป็นส่วนหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในมิติที่ครอบคลุมตั้งแต่การเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ในแต่ละท้องที่จะมีคำเรียกขานหมอพื้นบ้านตามบริบทของตน เช่น ภาคเหนือ เรียกว่าหมอเมือง  ภาคอีสาน เรียกว่าหมอลำผีฟ้า เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของสมาชิกในท้องถิ่นนั้นๆ ในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอในบทบาทของโต้ง ซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านในวิถีชีวิตชาวมอญที่เชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษในสมัยทวารวดี โดยจะนำเสนอมิติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพในบริบทงานอนามัยแม่และเด็กที่สะท้อนถึงการจัดการสาธารณสุขปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จวน เครือวิชฌยาจารย์. (2548). ประเพณีมอญที่สำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา

สิรินธร.

เฉลิมพล โลหะมาตย์. (2551). ดนตรีประกอบพิธีกรรมรำผีมอญ ของหมู่บ้านบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประนอม เคียนทอง. (2536).ประเพณีและพิธีกรรมของชาวมอญบ้านพระเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัลลภ สุริยกุล ณ อยุธยา.(2546). เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมอญ: ศึกษากรณีหมู่บ้านเจดีย์ทอง ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์เพ็ญแข วรรณป้าน. (2549). การศึกษาความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการรำผีของชาวมอญ: กรณีศึกษาชุมชนมอญบางกระดี่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2561). กระบวนการถ่ายทอดภมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาสุขภาพ ในชุมชนจังหวัดเลย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(52), 1-27.

วิชัย โชควิวัฒน์. (2546). นโยบายและทิศทางการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

วิภาดา เพชรโชติ. (2555). ฟ้อนผีมอญของชาวมอญบ้านหนองดู่และบ้านบ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อำเภอ

ป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 13(2), 35-42.

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2561). เปิดประตูสู่ทวารวดี. นครปฐม: มิตรเจริญการพิมพ์.

สุชีรา อินทโชติ. (2558). คตินิยมรำผีมอญในประเทศไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 2(2), 74-94.

อะระโท โอชิมา. (2536). ชีวิต พิธีกรรมและอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนมอญในเมืองไทยกรณีศึกษาในเขต อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อานันท์ กาญจนพันธุ์ และคณะ. (2530). พิธีกรรมและความเชื่อล้านนา: การผลิตใหม่ของอำนาจทางศีลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.