พุทธปัญญาเพื่อการพัฒนาตนในปรัชญาเซน

Main Article Content

พนมกร คำวัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความเรื่องนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาในการพัฒนาตน 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาตนในปรัชญาเซน และ 3) เพื่อศึกษาร่องรอยของพุทธปัญญาในการพัฒนาตนที่ปรากฏในปรัชญาเซน ผลการศึกษา พบว่า 1) พุทธศาสนามีพุทธวิธีในการพัฒนาปัญญาอยู่หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่คุ้นเคยของพุทธศาสนิกชนนั่นคือกระบวนการ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา 2) ปรัชญาเซน มีระบบการพัฒนาปัญญา อยู่ 3 อย่าง คือ ซาเซน การทำฌานสมาธิ  ซันเซน การขบปริศนาธรรม  และมอนโด การสนทนาธรรม  3) เมื่อนำมาเทียบเคียง จะเห็นถึงร่องรอยเค้าโครง พุทธวิธีในการพัฒนาปัญญา อยู่ในกระบวนการฝึกฝนตนเของปรัชญาเซน ซาเซนเทียบได้กับภาวนามยปัญญา  ซันเซนเทียบได้กับจินตามยปัญญา มอนโดเทียบได้กับสุตมยปัญญา ทั้งนี้ แม้ปรัชญาเซนในยุคสมัยปัจจุบันอยู่มีความเป็นปรัชญามากกว่าศาสนา แต่ร่องรอยเค้าโครงความคิดย่อมมีความเป็นพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง และการพัฒนาตนเองตามแนวปรัชญาเซน ก็มุ่งสู่ซาโตริ หรือการรู้แจ้ง ได้ธรรมจักษุนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คะนอง ปาลิภัทรางกูร (2560). ลำดับขั้นแห่งซาโตริ : ข้อโต้แย้งเรื่องการรู้แจ้งอย่างฉับพลันในพุทธศาสนา นิกายรินไซเซน. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์.

จุฑาภัค หริรักษ์ธำรง. (2557). รูปแบบการบรรลุธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทและนิกายเซนเชิง ประยุกต์(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2555). ญาณวิทยา (ทฤษฏีความรู้). นครปฐม: สาละพิมพการ.

ธ.ธีรทาส. (2551). ศิษย์โง่ไปเรียนเซน. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พุทธทาส อินทปญโญ. (2530). สูตรเว่ยหล่าง. กรุงเทพ: ธรรมสภา.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2559). รู้ Zen ผ่าน Science. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ.

เสถียร โพธินันทะ. (2548). ปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.