ความเสมอภาคทางเพศในทัศนะของมิเชล ฟูโกต์ : เพศวิถี

Main Article Content

เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เกี่ยวกับปัญหาวิถีชีวิตของสตรีเพศและผู้ซึ่งมีเพศสภาวะเป็นสตรีเพศ ซึ่งมีสาเหตุมาจากอำนาจ  วาทกรรม และประวัติศาสตร์ความคิด ที่ครอบงำชีวิตและความเป็นปัจเจกชน รวมถึงเป็นเครื่องกำหนดบรรทัดฐานทางสังคมของสตรีเพศ จนทำให้สตรีเพศมีบทบาทเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ต้องทำตามหน้าที่ซึ่งมีวิถีชีวิตภายใต้อำนาจของเพศชาย แม้ว่าสตรีเพศในเรื่องนี้จะเป็นผู้ที่สามารถสร้างอัตลักษณ์ได้ในพื้นที่ส่วนตัว หากแต่พื้นที่ส่วนตัวของเธอทั้งหลายนั้นก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สาธารณะในสังคม ทำให้สตรีต้องเผชิญหน้ากับบริบทของอำนาจในรูปแบบต่างๆที่เข้ามาปฏิบัติการกับชีวิตและวิถีชีวิต เป็นสาเหตุให้สตรีเหล่านั้นมีร่างกายที่อยู่ภายใต้การบงการ ขาดอิสรภาพและเสรีภาพ สตรีเพศจึงเป็นผู้ที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยเงื่อนไขทางสังคม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกษียร เตชะพีระ. (2558). (ผู้แปล). เสรีนิยมกับประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
กีรติ บุญเจือ. (2538). จริยศาสตร์ สำหรับผู้เริ่มเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2529). จริยศาสตร์กับปัญหาปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2539). จริยศาสตร์ตะวันตก คานท์ มิลล์ ฮอบส์ รอลส์ ซาร์ท. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ ผาสุกยืด. (2557). (ผู้แปล). อิสรภาพ : กล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง.
ปรีชา ช้างขวัญยืน และ สมภาร พรมทา. (2556). มนุษย์กับศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มิเชล ฟูโกต์. (2551). Michel Foucault. แปลโดย ธีรยุทธ บุญมี. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
มิเชล ฟูโกต์. (2554). Michel Foucault, The chapter “Les Corps dociles” from Surveiller et ppunir”, ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). แปลโดย ทองกร โภคธรรม. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2552). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์:จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุด เปลี่ยนของอัตตา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2557). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สายพิณ ศุพุทธมงคล. (2558). ฟูโกต์ ความรู้ฉบับพกพา. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์.
สมภาร พรมทา. (2538). ปรัชญาสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย ศุภมงคล.(2558). จอห์น รอล์ล: ว่าด้วยทฤษฎีความยุติธรรม และชีวิตของจอห์น รอล์ล. กรุงเทพฯ: วิตตอรี่