ประชาธิปไตยภายใต้กระแสยุคเปลี่ยนผ่านอำนาจการเมืองการบริหารไทย ในยุครัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

Main Article Content

พระครูรัตนสุตาภรณ์ ธีรเดช โพธิ์ทอง

บทคัดย่อ

ประชาธิปไตยภายใต้กระแสยุคการเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมืองการบริหารไทยในยุครัฐบาล คสช.นั้น นับตั้งแต่จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 การเมืองไทยมีลักษณะ คือ มีการแบ่งฝ่าย มีการใช้อำนาจทางการเมืองเป็นไปในทางที่ไม่สุจริตกับการที่เข้ามาเป็นตัวแทนรับใช้ประชาชนรวมถึงมีการบริหารที่ไม่ชัดเจนขัดแย้งกันระหว่างคนสองกลุ่ม และมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญอยู่บ่อยครั้ง แต่กระแสยุคการเปลี่ยนผ่านระหว่างขั้วอำนาจในครั้งปัจจุบันเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ก็ได้มีการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติขึ้น และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อให้คนในชาติต้องมีความปรองดองสมานฉันท์ อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจการเมืองและการบริหารของรัฐบาล คสช. นั้น ตั้งแต่เข้ามามีอำนาจก็มีการสลายสีเสื้อของกลุ่มคนหลากสี เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในบ้านเมือง รวมถึงการปราบปรามผู้มีอิทธิพลทั่วประเทศ ตลอดระยะเวลา 4-5 ที่ผ่านมา โดยตั้งอุดมการณ์ที่แน่วแน่เพื่อจะคืนความสุขให้คนในชาติ จะเน้นถึงความถูกต้องเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันก็มีการรวมกลุ่มประท้วงขึ้นเป็นระยะๆ ของคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่พอใจกับการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลชุดนี้ว่าทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ รวมถึงมีการเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นมาโดยเร็ว เพื่อให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตามปกติ

Article Details

How to Cite
ธีรเดช โพธิ์ทอง พ. . (2020). ประชาธิปไตยภายใต้กระแสยุคเปลี่ยนผ่านอำนาจการเมืองการบริหารไทย ในยุครัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.). วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 59–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247298
บท
บทความวิชาการ

References

เกษฎา ผาทอง. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคมไทยภายใต้กระบวนทัศน์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. ธรรมทรรศน์, 16(2), 255-273.
ประภัสสร ทองยินดี. (2558). ประชาธิปไตย: แนวคิดและหลักการเบื้องต้น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
อีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(3), 11-22.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2550). ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(3), 1-23.
สัญญา เคณาภูมิ. (2560). อิทธิพลของอรรถประโยชน์ทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 17-38.
สรนันท์ สรณานุภาพ และ วสันต์ เหลืองประภัสร. (2560). การขยายตัวของระบบราชการไทยในสมัยระบอบสฤษดิ์: ยุคความมั่นคงและการพัฒนา พ.ศ.2501 -2516. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 282-307.
Easton, D. (1960). The Political System. New York: Alfred A. Knoff.
Harold D. L. and Kaplan, A. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University Press.