ทศพิธราชธรรมในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาภาวะผู้นำของสตรี ด้านธุรกิจ

Main Article Content

สุพัตรา ชั้นสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มุ่งเน้นที่จะตอบคำถามว่า หลักทศพิธราชธรรมจะสามารถนำมาเป็นเครื่องมือพัฒนาภาวะผู้นำของสตรีที่เป็นผู้บริหารทั้งในระดับองค์กรและในระดับประเทศในสังคมปัจจุบันได้หรือไม่? ผลจากการศึกษาพบว่า ในมุมมองทางพระพุทธศาสนา หลักทศพิธราชธรรมสามารถนำมาเป็นเครื่องมือพัฒนาบทบาทสตรีที่เป็นผู้นำให้แข็งแกร่งได้ แม้จะไม่ได้เป็นราชาเหมือนบุรุษเพศ โดยที่แท้หลักทศพิธราชธรรมหมายถึงหลักการปฏิบัติที่ผู้นำหรือบุคคลที่จะให้มหาชนเกิดความยินดีพอใจโดยชอบธรรม การที่กลุ่มสตรีที่เป็นนักบริหารองค์กรหรือที่เป็นผู้นำทั่วไปนำหลักทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มาเป็นเครื่องมือพัฒนาภาวะของตนให้แข็งแกร่งเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและนำมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า ผู้นำที่เป็นสตรีก็สามารถที่จะทำให้กลุ่มคนที่อยู่ในองค์กรหรือในชุมชนสังคมนั้นๆ เกิดความพอใจ และเชื่อมั่นว่าจะนำพาองค์กรและสังคมนั้นๆ บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ฉะนั้น ประเด็นสำคัญในบทความนี้จึงเน้นและให้ความสำคัญไปที่คุณสมบัติด้านการปกครองและด้านการเป็นผู้นำของสตรีกลุ่มธุรกิจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลชนก ทีฆะกุล. (2559). ศึกมรดก น้ำพริกเผาแม่ประนอม. แหล่งที่มา: http://www.komchadluek.net/news/detail. [28 พฤศจิกายน].
กิ่งอ้อ เล่าฮง. (2559). สมานฉันท์. แหล่งที่มา https://moneyhub.in.th.
เกศรี วิวัฒนปฐพี. (2551). กระบวนการสร้างผู้นำสตรีในวัฒนธรรมอีสาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชาญชัย คุ้มปัญญา. (2559). สถานการณ์โลก. แหล่งที่มา: www.thetrentonline.com
บุญชนะ อัตถากร. (2550). ทฤษฎีการเมืองและการปกครอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์.
ผู้จัดการรายวัน.(2559). เซี่ยงไฮ้ ทุ่ม 80 ล้านสลัดภาพแก่. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: www.manager.co.th [28 พฤศจิกายน 2559].
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2559). ทศพิธราชธรรม 10 ตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร. พุทธจักร, 70(1), 42.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.
วิลาสินี พิพิธกุล. (2555). ผู้หญิงกับเทคโนโลยีข่าวสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2559). ภาวะผู้นำของพระพุทธเจ้า. แหล่งที่มา http://www.taladhoon.com.