ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและการรับรู้การซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

Main Article Content

พัฒนา ศิริโชติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยคือ ศึกษาและทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และนำการรับรู้ไปสู่การบริหารการตลาด การผลิต การสื่อสารการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสำรวจกลุ่มครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวม 1,390 ตัวอย่าง ด้วยการทดสอบสมมติฐานจากสมการถดถอยเชิงพหุคูณและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านจิตวิทยาและการรับรู้ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมต้องเน้นผลิตภัณฑ์หรือบริการ บรรจุภัณฑ์ และการใช้สื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์


ข้อเสนอแนะการวิจัย ได้แก่ การรับรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นทำให้ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ปัจจัยด้านจิตวิทยามีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมยังเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ บรรจุภัณฑ์ และการสื่อการส่งเสริมการตลาด แบบสอบถามการวิจัยควรคำนึงกลุ่มผู้บริโภคหรือกลุ่มครัวเรือนเพื่อให้เกิดความชัดเจน และครั้งต่อไปควรคำนึงองค์ประกอบการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และทดสอบผลิตภัณฑ์ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พัฒนา ศิริโชติบัณฑิต. (2555). การศึกษาการเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสมกับองค์กรธุรกิจไทย. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา,1, 1-18.
Borin, N, C. Cerf, Douglas, and Krishna R. (2011). Consumer Effects of Environmental Impact in Product Labeling. Journal of Consumer Marketing, 28(1), 76-86.
Bryman, A. (2001). Social Research Methods. New York: Oxford.
Cleaveland, M, Kalamas, M, and Laroche, M. (2005). Shades of Green: Linking Environmental Locus of Control and Pro-Environmental Behaviors. Journal of Consumer Marketing, 22(4), 198-212.
Gupta, S. and Ogden, D. T. (2009). To Buy or Not To Buy? A Social Dilemma Perspective on Green Buying. Journal of Consumer Marketing, 26(6), 376-391.
Kotler, P. (1994). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. (8th ed.). USA: Prentice Hall International.
Kotler, P. and Pfoertsch, W. (2010). Ingredient Branding: Making the invisible visible. Germany: Springer-Verlag Berlin Heidelberg.
National Statistical Office of Thailand. (2012). Statistical Yearbook Thailand 2012. Retrieved March 26, 2012 from http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/ download/syb_54/SYB_54_T.pdf