บ่อเกิดและความสำคัญของศีลธรรมต่อมนุษย์และสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้นำเสนอแนวคิดศีลธรรมซึ่งเป็นหลักการสำคัญของมนุษย์และสังคมซึ่งดำเนินไปด้วยการแสดงพฤติกรรมต่อกัน การแสดงพฤติกรรมต่อกันมีผลต่อความเสื่อมและความเจริญของตัวมนุษย์แต่ละคนและสังคมซึ่งเป็นกิจกรรมของมนุษย์ด้วย ในเชิงมนุษย์เองศีลธรรมเกิดจากการมีประสบการณ์เอาใจเขามาใส่ใจเราหรือ ความเห็นอกเห็นใจ คือ สมมติว่าเราเป็นเขา หรือเขาเป็นเราซึ่งเป็นข้อตกลงแรกในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม การที่จะมีพฤติกรรมศีลธรรมได้ต้องเกิดจากการทำลายหรือลดความเห็นแก่ตัวลง ศาสนาจึงเป็นแหล่งกำเนิดศีลธรรมแรก ๆ อย่างเป็นระบบ และเป็นแหล่งขัดเกลาศีลธรรมให้ความเข้มแข็งและดำเนินควบคุ่ไปกับสังคม ส่วนศีลธรรมในเชิงสังคมเกิดจากกระบวนการเชิงชีวิวทยาเป็นการอธิบายแบบไม่อิงกับคุณค่าเชิงจิตใจเหมือนแนวคิดศีลธรรมทางศาสนาซึ่งเน้นศีลธรรมแบบคุณค่า ซึ่งมีพลังอำนาจเชิงบวกในการผลักดันให้มนุษย์สร้างศีลธรรมที่เหมาะสมกับตนเองตลอดเวลาจนกลายเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แฝงด้วยความงาม คุณค่า เป็นศีลธรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างมั่นคงและถาวร
Article Details
References
พุทธทาสภิกขุ. (2553). พุทธทาส แนะแนวจริยธรรมร่วมสมัย ชุดที่ 3 จุดหมายปลายทาง และตัวแท้ของ จริยธรรม. กรุงเทพฯ: ดวงตะวัน.
ศิริพร มณีชูเกต. (2559). โลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียจากภาษิต. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 4(2), 62-78.
ศิริมาลย์ ศรีใส. (2541). การศึกษาเชิงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมและกฎหมายในจริยศาสตร์ของค้านท์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสฐียร พันธรังษี. (2527). ศาสนาเปรียบเทียบ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
Hobbes, T. (1967). Leviathan. ed. By Richard S. Peters. New York: Collier Books.
Patrick H. S. (1967). Religion and Morality: Encyclopedia of Philosophy Vol.7. New York: Macmillan and the Free Press.
Pojman, L. (1998). Philosophy: The Pursuit of Wisdom. (2nd ed.). California: Wadsworth.
Robbins, S.P. & Coulter, M. (2005). Management. (8th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.