ทฤษฎีอรรถประโยชน์: บทวิเคราะห์ในมุมมองของโทณปากสูตร

Main Article Content

พระคมสัน เจริญวงค์

บทคัดย่อ

อรรถประโยชน์กับโทณปากสูตรกล่าวถึงเรื่องพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคหรือมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ที่ยังมีความต้องการอยากได้ ทั้งสองเรื่องมีมุมมองคล้ายคลึงกัน ให้เหตุผลคล้ายกัน เป็นเรื่องของการบริโภคที่เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วย่อมได้รับอรรถประโยชน์ทั้งหมด หากบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อรรถประโยชน์ทั้งหมดก็จะสูงขึ้นตาม และเมื่อถึงจุดอิ่มตัวอรรถประโยชน์ทั้งหมดก็จะลดลงซึ่งเป็นไปตามกฏลงลงของอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย  พระพุทธเจ้าทรงตรัสโทณปากสูตรกล่าวถึงการประมาณในโภชนะคือการกินหรือการบริโภค หากบริโภคมากก็จะมีความอึดอัดต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วน ร่างกายไม่กระปี้กระเปร่า เกิดเวทนาจากการกินมากขึ้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสให้มีสติอยู่ทุกเมื่อเกี่ยวกับการบริโภค และชี้ประโยชน์จากการรู้จักประมาณในการบริโภค คือ มีเวทนาเบาบาง แก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน เป็นต้น ทั้งอรรถประโยชน์และโทณปากสูตรกล่าวเหมือนกันคือเมื่อบริโภคเข้าไปจำนวนมาก ๆ จะทำให้เกิดการอิ่มจนเกิดเวทนาและจากการอร่อยจะทำให้เกิดความอึดอัดเมื่อบริโภคจำนวนมากเกินความจำเป็น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทู้ธรรม. (2556). วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://pjotimanto. wordpress.com. (วันที่เข้าค้นข้อมูล 1 มีนาคม 2561).
ธนะสาร พานิชยากรณ. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำประเภทเรือชายฝั่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(4),186-200.
ธนิดา จิตร์น้อมรัตน์. (2561). แนวคิดทางทฤษฎีของการประกันภัยรายย่อย. สุทธิปริทัศน์, 32(102), 264-276.
นภดล ร่มโพธิ์. (2555). การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีอรรถประโยชน์. วารสารบริหารธุรกิจ, 134, 12.
นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2554). หลักเศรษฐศาสตร์ I : จุลเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และคณะ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 122-128.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัญญา เคณาภูมิ. (2561). การประยุกต์อรรถประโยชน์ทางการเมืองผ่านการตัดสินใจเลือกตั้งและการจัดบริการสาธารณะ. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(1), 123-143.
สานุ มหัทธนาดุล. (2557). แนวทางการจัดดุลยภาพสัมพันธ์ของระบบภายในร่างกายมนุษย์เชิงพุทธบูรณาการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 9(17), 56-57.
อัคริมา พลกําจัด, ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน และ พรไทย ศิรสิาธิตกิจ. (2560). ธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี: ประชาธิปไตยฐานรากกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 10(1), 98-119.