การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการตลาดดิจิทัลสำหรับสมาชิกหอการค้า ABC
คำสำคัญ:
Training Courses, Curriculum Development, Digital Marketing Skillsบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรมทักษะการตลาดดิจิทัล 2) เพื่อออกแบบ และพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการตลาดดิจิทัล 3) เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการตลาดดิจิทัล กลุ่มเป้าหมายคือคณะกรรมการหอการค้า ABC จำนวน 13 คน และสมาชิกหอการค้า ABC จำนวน 30 คน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ทราบถึงความต้องการ วัตถุประสงค์ และรูปแบบการฝึกอบรม ระยะที่ 2 แบบประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อพิจารณาความสอดคล้องใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตุประสงค์ ระยะที่ 3 แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร 2 ส่วน คือ 1) แบบประเมินปฏิกิริยาความพึงพอใจ และ 2) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อน - หลังการอบรม
ผลการศึกษา พบว่าหัวข้อในหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการตลาดดิจิทัลของสมาชิกหอการค้า ABC ประกอบด้วย 3 หัวข้อ คือ 1) แนวโน้มการตลาดดิจิทัลสำหรับภาคธุรกิจ 2) การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และ 3) ความรู้เบื้องต้นเครื่องมือการตลาดดิจิทัล ฝึกอบรมตามแนวคิดในรูปแบบ 70: 20: 10 คือ ร้อยละ 70 คือ กิจกรรมออกแบบคอนเทนต์การตลาดดิจิทัลด้วยหลักการ CANVAS ร้อยละ 20 คือ การฝึกปฏิบัติผ่านการโค้ช และการให้คำปรึกษา เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบช่องทางการสัมผัสกับผู้บริโภคทางการตลาดดิจิทัล (Digital Touchpoint) และ ร้อยละ 10 คือ การฝึกอบรมในห้องเรียน ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม และผลประเมินคุณภาพการนำหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการตลาดดิจิทัลไปใช้ พบว่าผลการประเมินปฏิกิริยาต่อความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก และผลคะแนนประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อน - หลังการฝึกอบรม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Branson, R. K., Gail T. R., Cox, J. L., Furman, J. P., King, F. J., & Wallace,H. (1975). Excusive Summary and Model. Interservice Procedure for Instructional System Development: Executive Sumary, Phase I, Phase II, Phase III, Phase IV, and Phase V. Center for Educational Technology. The Florida State University, 1-132.
Chaffey, D., & Ellis-Chadwick, F. (2019). Digital Marketing: Strategy, Implementation and Practice (7th ed.). Pearson.
Desimone, R. L., Werner, J. M., & Harris, D. M. (2002). Human resource development. Harcourt College Publishers.
Haukka, A. (2022). Digital Marketing Strategy for Junamajoitus Haukka [Bachelor of Business Administration]. Tampere University of Applied Sciences
Kirkpatrick, D. L. (2007). Implementing the four levels. a practical guide for effective evaluation of. Berrett-Koehler.
Kovacs, I., & Vamosi Zarandne, K. (2022). Digital marketing employability skills in job advertisements – must-have soft skills for entry level workers: A content analysis. Economics & Sociology. 15(1), 178–192. https://doi.org/10.14254/2071-789x.2022/15-1/11
Li, L. (2022). Reskilling and Upskilling the Future-ready Workforce for Industry 4.0 and beyond. Information Systems Frontiers. 24(3). https://doi.org/10.1007/s10796-022-10308-y
Rossett, A. (1987). Training needs assessment. Educational Technology Publications.
กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานยุคหลังโควิด-19. มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(3), 169–172.
กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2565). การใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้นวารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1), 1-15.
เกตศิรินทร์ กาญจนกังวาฬกุล และ วิเชศ คำบุญรัตน์ (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของ รัฐวิสาหกิจ XYZ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26(3), 118–130
เกรียงศักดิ์ คัมภิรา, สิรินาถ จงกลกลาง, และ นาตยา ปิลันธนานนท์. (2565). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในชีวิตวิถีใหม่สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 10(1), 36–37.
จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา, ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์, พัชรีภรณ์ บางเขียว, วิโฬฎฐ์ วัฒนานิมิตกูล, สิริกร โตสติ, ธนภัทร จันทร์เจริญ, แฝงกมล เพชรเกลี้ยง, ปลากัดทอง ภิญญาพัชญ์, และ เอี่ยมสะอาด อารีวรรณ. (2563). การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) (2nd ed., pp. 144–146). คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ.
ดิฏฐชัย จันทร์คุณา และ พิศนีย์ อำไพ. (2564). การตลาดดิจิทัลบนเฟสบุ๊กแฟนเพจของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาไทยช่วงโตเกียว 2020 โอลิมปิกเกมส์. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 18(2), 117–118
เทค ไทยแลนด์ อี-บิสสิเนส เซ็นเตอร์. (2564) Digital Marketing Skills in Digital Marketing Career. สืบค้นจาก https://www.tec.work/_files/ugd/35b1d0_a195917859e04c7492c762db0a78acd3.pdf
ธนาคารกรุงไทย. (2561, 27 เมษายน ). Digital Marketing ที่ SME ต้องรู้. สืบค้นจาก https://sme.krungthai.com/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=32&itemId=198
ธนาคารแห่งประเทศไทย (2563). The Future of Work เทรนด์อาชีพที่มาแรง ปี 2020 – 2030. พระสยาม BOT Magazine, 63(1), 48-49.
ธิดารัตน์ พูลเกิด. (2562). แผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อรองรับยุคไทยแลนด์ 4.0. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล. (2564, 14 พฤษภาคม). การตลาดดิจิทัล หลังโควิด-19., สืบค้นจาก https://www.thaiprint.org/2021/05/vol130/knowledge130-03/
บุษราภรณ์ ช้างเจริญ. (2559). การศึกษาวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมประเภทหลักสูตร Public Training. สำนักสิริพัฒนา
พิสณุ ฟองศร. (2553). เทคนิควิธีการประเมินโครงการ (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพิมพ์
รจนา เมืองแสน และ อุมาวรรณ วาทกิจ. (2564). แนวทางการพัฒนาการตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจผ้าไหมสำเร็จรูปในกลุ่มนครชัยบุรินทร์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(2), 817-829.
ไวยวิทย์ มูลทรัพย์ (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านค้าปลีก. (2565). REA Presentation. [วิดีทัศน์]. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านค้าปลีก
เศรษฐพงษ์ อิ่มฤทธา (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการฟอกเงินแก่การก่อการร้ายสำหรับบุคลากรบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.