Journal Information
Publication Ethics
หน้าที่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
- ประกาศวิธีปฏิบัติในการจัดเตรียมต้นฉบับและรายละเอียดที่จำเป็นอื่นๆ ที่ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามให้ผู้สนใจส่งบทความตีพิมพ์และสาธารณชนทั่วไปรับทราบ
- การปฏิบัติภารกิจหลักในการจัดหาต้นฉบับบทความและการเจรจากับผู้นิพนธ์ โดยพิจารณาบทความเบื้องต้นเกี่ยวกับชื่อเรื่อง ขอบเขต โครงสร้าง ความยาว ความถูกต้องของข้อมูล การบอกเล่าอย่างตรงไปตรงมา การอ้างอิงแหล่งข้อมูล การสื่อความหมาย ความน่าสนใจ และการกลั่นกรองถึงการใส่ร้าย การดูหมิ่นร้ายแรง รวมถึงการละเมิดลิขสิทธิ์
- การวางตัวเป็นกลาง ปราศจากอคติ ความลำเอียง และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่พิจารณาบทความ รวมถึงการปกปิดมิให้ผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิทราบถึงตัวตนของกันและกัน
- การรับฟังความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับคุณภาพบทความ ที่จะตีพิมพ์ตามคุณภาพ ไม่รับตีพิมพ์บทความเพียงเพื่อผลประโยชน์ของผู้นิพนธ์หรือวารสาร โดยไม่พิจารณาผลการประเมินคุณภาพของบทความจากผู้ประเมิน
- ตรวจบทความในด้านการคัดลอกผลงานวิชาการ (Plagiarism) ทั้งของตนเองและผู้อื่นอย่างเคร่งครัด หากพบเหตุการณ์ดังกล่าว จะหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์ทันทีเพื่อขอให้แก้ไข หรือชี้แจง เพื่อประกอบการตัดสินใจ ตอบรับ หรือ ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความนั้น
- ความรับผิดชอบต่อการตีพิมพ์เผยแพร่วารสารสู่สาธารณะ โดยทำความตกลงกับผู้เขียนเกี่ยวสิทธิประโยชน์ของแต่ละฝ่าย รวมถึงความรับผิดชอบทางกฎหมายกรณีการลอกเลียนผลงานวิชาการ
- ไม่ร้องขอให้มีการอ้างอิงผลงานใดเพื่อเพิ่มจำนวนการอ้างอิง (Citation) หรือค่า Impact Factor ของวารสารหรือเพื่อเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประเมิน
- ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนหรือผลงานที่ทำการตรวจประเมิน และไม่เป็นบุคลากรในแผนกเดียวกันกับผู้เขียน
- ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในสาขาวิชาของตนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ในการตรวจสอบบทความอย่างตรงไปตรงมาและมีมาตรฐานเดียวกัน โดยต้องให้ความคิดเห็นอย่างเป็นกลางในเชิงสร้างสรรค์ โดยมุ่งหวังให้ผู้เขียนนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไขผลงานของตนให้เกิดความถูกต้องและมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
- ประเมินคุณภาพบทความด้วยความเป็นกลาง ปราศจากอคติ
- ส่งผลการประเมินตามกำหนดเวลา
- ไม่เสนอแนะให้ผู้นิพนธ์อ้างอิงผลงานใดด้วยเจตนาเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง
- หากพบว่าผู้นิพนธ์บทความกระทำผิดจรรยาบรรณ เช่น ลอกเลียนผลงานวิชาการ บิดเบือนผลการวิจัย หรือใช้ผลการวิจัยเท็จ ต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบ
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์หรือผู้เขียน
- ผู้นิพนธ์ต้องมีความรับผิดชอบต่อบทความที่ส่งให้พิจารณาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น
- ผู้นิพนธ์บทความต้องมีความซื่อสัตย์และมีจริยธรรมทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น (Plagiarism) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
- ผู้นิพนธ์บทความต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ และต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
- ผู้นิพนธ์บทความต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอน ต้องตระหนักว่าอคติส่วนตนหรือความลำเอียงทางวิชาการอาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูลและข้อค้นพบทางวิชาการ
- ผู้นิพนธ์ต้องไม่สร้างข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนข้อมูลในการรายงานผลการวิจัย
- ผู้นิพนธ์บทความพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินงาน ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขผลงานของตนให้ถูกต้อง
- ผู้นิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมเกี่ยวกับความเป็นผู้นิพนธ์ (Authorship) อย่างเคร่งครัด โดยผู้นิพนธ์ทุกชื่อที่ปรากฏในบทความจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำวิจัยและไม่ละเลยหรือตัดชื่อบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการทำวิจัยคนใดออกจากบทความ
- ผู้นิพนธ์ทุกคนจะต้องเห็นชอบกับต้นฉบับบทความและเห็นชอบกับการส่งต้นฉบับบทความนั้นให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์
การประเมินคุณภาพของบทความ
- บทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยพิจารณาแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ ผู้พิจารณาบทความ และผู้เกี่ยวข้อง (Double Blind Review)
- ระยะเวลาในการประเมินคุณภาพของบทความเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงานของวารสาร
- การตัดสินผลการพิจารณาบทความจะเป็นไปตามคุณภาพบทความ โดยผลการตัดสินมี 2 ประเภท ได้แก่ การรับตีพิมพ์ (Accepted) และการปฏิเสธ (Rejected) ซึ่งการรับตีพิมพ์ จะต้องเป็นไปตามกระบวนการประเมินคุณภาพของบทความ โดยประเมินจากผู้ประเมิน 3 ท่าน และต้องผ่านอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน สำหรับการปฏิเสธ จะต้องมีผู้ประเมินปฏิเสธการตีพิมพ์ 2 ท่าน