ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี
Technology Acceptance of Chatbot Artificial Intelligence Program to Use Financial Service of The Elderly Age in Pathumtani Province
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอท, บริการด้านการเงิน, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีต่อความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี และ 3) ศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพการบริการที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 และการศึกษาปัจจัยคุณภาพบริการในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 เมื่อทำการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้ความง่าย ด้านความต้องการใช้งาน ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินของผู้สูงอายุ โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 74.5 2) ปัจจัยคุณภาพการบริการ ด้านประสิทธิภาพบริการ ด้านการเข้าถึงบริการ ด้านความถูกต้องแม่นยำ และด้านความปลอดภัย ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินของผู้สูงอายุ โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 65.9 และ 3) ศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพการบริการส่งผลต่อความ
พึงพอใจในการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แชทบอทบริการด้านการเงินของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
Aldás-Manzano, J., C. Lassala-Navarré, C. Ruiz-Mafé & S. Sanz-Blas. (2009). The role of consumer innovativeness and perceived risk in online banking usage. International Journal of Bank Marketing. 27(1), 53-75.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly Journal. 13(3), 319-340.
FT Confidential Research. (2017). Fintech survey of 1,000 urban consumers. Retrieved May 15, 2022 from https://www.ey.com/Publication/vwLUAssets/ey-the-rise-of-fintechinchina/% 24FILE/ey-the-rise-of-fintech-in-china.pdf
Kotler, P. (2003). Marketing Management. 11th ed. Upper Saddle River, N.J. : Pearson Prentice Hall.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.
Zeithaml, V. A., Berry, L.L. and Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing Management, 60(4), 31-46.
กรณษา แสนละเอียด พีรภาว์ ทวีสุข และศรีไพร ศักดิ์รุ่ง. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้ม เบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 9(3), 3-15.
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). จำนวนประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. สืบค้น 31 มกราคม 2566 จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766
แชทบอทคืออะไร? ตัวช่วยธุรกิจที่ขาดไม่ได้ในยุค Next normal สืบค้น 29 ตุลาคม 2566 จาก https://aigencorp.com/what-is-chatbot/
เตือนใจ เขียนชานาจ. (2564). การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(8), 311-324.
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข ภาณุวัฒน์ เชิดเกียรติกูล อนามัย เทศกะทึก และสุวิชัย โกศัยยะวัฒน์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 45(2), 184-196.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2564). ยกระดับธุรกิจให้ง่ายขึ้นด้วย “Chatbot” สุดยอดผู้ช่วยอัจฉริยะแห่งยุค 4.0. สืบค้น 11 พฤษภาคม 2566 จาก https://shorturl.at/kDX12
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/StandardPS/Pages/ default.aspx
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชนปรับปรุงแชทบอทเพื่อขยายการให้คำปรึกษาแก่ลูกหนี้. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/ Press/2021/n8664.aspx
นันท์นภัส ประจงการ. (2560). แนวทางการปรับใช้แชทบอทสำหรับงานบริการลูกค้าสำหรับธุรกิจ. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บัณฑิตา โนโชติ. (2564). ประสบการณ์และการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงวัยหลังเกษียณ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีผลต่อความเต็มใจใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พนม คลี่ฉายา. (2565). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังและผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย.วารสารนิเทศศาสตร์. 39(2), 56-77.
วิสิฏฐา ชุนสิทธิ์ และรังสรรค์ เกียรติภานนท์. (2564). การออกแบบแชทบอทให้บริการลูกค้าเพื่อรองรับการขยายตลาดด้วยการตลาดดิจิทัล กรณีศึกษา บริษัท ฟอร์มูลา ทีเค ดี จำกัด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 15(3), 107-120.
สํานักงานบริหารยุทธศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี. สืบค้น 29 ตุลาคม 2566. จากhttp://www. osmnorthcentral1.go.th/pathumthani/economic.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.