ผลกระทบและแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้มีการนำกฎหมายพิเศษมาใช้ในพื้นที่ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของกฎหมายความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากผลกระทบของกฎหมายความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการศึกษาพบว่าการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงทั้งสามฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นเครื่องมือของอำนาจพิเศษที่ใช้จัดการปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ มีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนมากกว่ากฎหมายทั่วไปและขัดต่อหลักนิติธรรม เช่น การถูกจับกุมโดยไม่ต้องมีหมายศาล การถูกกักตัวไว้ยาวนานขึ้นโดยไม่อยู่ในอำนาจตรวจสอบขององค์กรศาล หรือการอยู่ภายใต้อำนาจทหารแทนอำนาจพลเรือน แนวทางในการแก้ไข คือต้องปรับโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบ และผู้ที่มีอำนาจหลักเหนือฝ่ายทหาร ตลอดจนรัฐต้องมีมาตรการส่งเสริมการปฏิบัติงานที่รองรับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความมั่นคงของมนุษย์ ควรมีการทบทวนกระบวนการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงให้สอดคล้องกับความจำเป็นที่เป็นอยู่จริงในพื้นที่เป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายให้พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ภายใต้กฎหมายปกติและลดปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้อย่างจริงจัง
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ
References
กัลยา แซ่อั้ง, รุสตั้ม หวันสู, มาโนชญ์ อารีย์, และภูมิ มูลศิลป์. (2565). “กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลากับประสบการณ์ของอาเจะฮ์ และมินดาเนา”. รัฐศาสตร์สาร. 43(1), 31-67.
ฆรณพ ชัยสิทธิ์. (2564). “กฎหมายว่าด้วยความมั่นคงกับสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้”. นิติปริทัศน์. 1(2), 9-26.
ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. (2563). การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จากhttps://www.parliament.go.th
ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. (2563). การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://www.parliament.go.th
ชินีเพ็ญ ศรีชัย. (2561). “แนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้”. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 24(พิเศษ), 1-9.
ดนุวัศ สุวรรณวงศ์, บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ, ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี, และชิดชนก เชิงเชาว์. (2560). “กลยุทธ์และรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้”. พัฒนบริหารศาสตร์. 57(3), 47-76.
นิเพาซาน วาบา. (2561). “รูปแบบยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงแห่งชาติที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้”. รังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 4(1), 102-114.
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2542). สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://www.nsc.go.th
ประพันธ์ สีดำ. (2550). ความก้าวหน้าการพัฒนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จากhttps://web.codi.or.th
พนารัตน์ มาศฉมาดล. (2551). พระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก http://wiki.kpi.ac.th
มาโนชญ์ อารีย์ และกัลยา แซ่อั้ง. (2562). “กฎหมายความมั่นคงกับความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย”. สหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ. 16(2), 85-119.
วันพิชิต ศรีสุข. (2565). การสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการบริหารสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้:ประเด็นความมั่นคงทางสังคม. ปัญญาภิวัฒน์. 14(1), 203-218.
ศาสนีย์ ศรศิลป์. (2563). นโยบายความมั่นคงแห่งชาติของไทยกับมิติของกระบวนการนโยบายแบบปรึกษาหารือ. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี. 15(1), 105-115.
สุปราณี ธรรมพิทักษ์. (2561). การวิเคราะห์นโยบายความมั่นคงที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2556. รัฏฐาภิรักษ์. 60(1), 45-58.
สุปราณี ธรรมพิทักษ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการนำนโยบายรัฐบาลไปปฏิบัติในการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. นโยบายและกิจการสาธารณะ. 1(1), 27-42.