ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เช่าหอพักเอกชนของผู้เช่าในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

นิจกานต์ หนูอุไร

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเช่าหอพักเอกชนของผู้เช่าในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เช่าหอพักเอกชนที่มีรายชื่อในทะเบียนหอพักของเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้การสุ่มแบบเจาะจง มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อพรรณนาข้อมูลปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ และการตัดสินใจเช่าหอพักเอกชนของผู้เช่า ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


      ผลการวิจัย พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการส่งผลต่อการตัดสินใจเช่าหอพักเอกชนของผู้เช่าในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่า 0.656 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 43 (R2 = 0.430) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของพยากรณ์มีค่า 0.49647 โดยสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ คือ  = 1.085 + 0.177 (X1) + 0.183 (X3) + 0.098 (X4) + 0.162 (X7) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ  = 0.199 (X1) + 0.181 (X3) + 0.126 (X4) + 0.173 (X7)

Downloads

Article Details

How to Cite
หนูอุไร น. (2021). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เช่าหอพักเอกชนของผู้เช่าในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 3(1), 1–29. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoskru/article/view/252100
บท
บทความวิจัย

References

ชัชวาล เวศย์วรุตม์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกหอพักอาศัยของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก https://www.mis.ms.su.ac.th/MISMS02/PDF01/2553/MBA/68.pdf

ชำนาญ รอดภัย และธรรมวิมล สุขเสริม. (2556). การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีของหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 8(1),

น. 140-159.

ณพัชญาฐ์ สุขพัชราภรณ์ และปิยพรรณ กลั่นกลิ่น. (2562). พฤติกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการเช่าที่พักในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 10(2), น. 213-227.

ทศพร มูลรัตน์. (2561). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558 กรณีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก. การประชุมวิชาการสาขานิติศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1. (167-177). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บริษัท กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค พริ้นติ้ง จำกัด.

นริสรา ปินตาแจ่ม และพิชาภพ พันธุ์แพ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าหอพักในเขตนิคมอุตสาหกรรมลำพูน จังหวัดลำพูน. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา. (8)2, น. 33-50.

สถาพร ไกรสังเกตุ และเกียรติชัย เวษฏาพันธุ์. (2561). ปัจจัยการตลาดและปัจจัยสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยของพนักงานบริษัทในนิคมอุตาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7(4), น. 169-182.

สมฤทัย ใสยิ่ง, ลันธนะ ประสงค์สุข และวิมลกานต์ จันทร์ประเสริฐ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 1(2), น. 36-47.

สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2558). พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2564, จาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2020/11/2301_6169.pdf

หนูเวียง สิงห์สูง, กุลชลี พวงเพ็ชร์ และโสพิศ คำนวนชัย. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดในทัศนะของผู้เช่าหอพักในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. วารสารสหวิทยาการจัดการ. 1(1), น. 9-23.

อดุล จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.

อังคณาภรณ์ ไชยโสดา, ริศารัคน์ โชติเชย และภณิตา สุนทรไชย. (2563). กลยุทธ์การแข่งขันและกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจหอพักในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 7(1), น. 87-102.

บาร์เด้น, ดับบลิว., อินเกรม, ที. และลาฟอร์จ, อาร์. (2548). หลักการตลาด [Marketing: Principles and perspectives] (อรชร มณีสงฆ์, จำเนียร บุญมาก, มานพ ชุ่มอุ่น และพงศ์เทพ เติมสงวนวงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

อาร์มสตรอง, จี. และคอตเลอร์, พี. (2012). หลักการตลาด [Marketing an introduction] (นันทสารี สุขโต, เพ็ญสิน ชวนะคุรุ, กุลทิวา โซ่เงิน, จิราพร ชมสวน, นวพงศ์ ตัณฑดิลก, วริศลา แหลมทอง วัลภา, หัตถกิจพาณิชกุล วีรพล สวรรค์พิทักษ์ และสมศิริ วัฒนสิน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า

Lovelock, C. & Wirtz, J. (2011). Services marketing. (7th ed.). England: Pearson Education Limited.