พฤติกรรมการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากแอปพลิเคชั่นไลน์ที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

นิจกานต์ หนูอุไร

บทคัดย่อ

   การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2) ศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากแอพพลิเคชั่นไลน์ที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) รูปแบบสำรวจ (Survey Research) ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และทั้งหมดเป็นผู้ที่ใช้งานแอปพลิเคชั่นไลน์ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non - Probability Sampling) คือ การสุ่มแบบสะดวก (Convenience Selection) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


   ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาพบว่า การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากแอปพลิเคชั่นไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุมีระดับการใช้งานอยู่ในระดับมาก และการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ในภาพรวมมีการรู้เท่ากันในระดับมาก สำหรับการทดสอบสมมุติฐานพบว่า พฤติกรรมการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากแอปพลิเคชั่นไลน์ประกอบด้วย ด้านการรับรู้ข่าวสาร ด้านอารมณ์ ด้านความมั่นคง และด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีนัยสำคัญที่ 0.05
โดยสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ คือ = .311 + .163 (X1) +.184 (X2) + .220 (X3) + .338 (X4) และสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน  = .167 (X1) + .180 (X2) + .234 (X3) +.308 (X4)

Downloads

Article Details

How to Cite
หนูอุไร น. (2021). พฤติกรรมการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากแอปพลิเคชั่นไลน์ที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 3(1), 145–176. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoskru/article/view/251454
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก https://etda.or.th/th/Useful-Resource/

publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิรณา สมวาทสรรค์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1598586547.pdf

จริยา ปันทวังกูร. (2558). แนวทางการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารธรรมทรรศน์. 15 (1), น. 55-63.

นิกร โภคอุดม. (2563). ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 14 (2), น. 59-69

โพสีชั่นนิ่งแมก. (2563). ส่องพฤติกรมชาวเน็ตปี 62 ใช้ “โซเซียล” หนักสุด แต่สั่งอาหารออนไลน์โตสูงสุด. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก https://today.line.me/th/v2/article/nOjjYo

รดี ธนารักษ์. (2558). การรู้เท่าทันสื่อ: ประโยชน์และการนำไปใช้กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2560). การใช้LINE ของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University. 10(1), น. 905-918.

ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรมและการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5707030515_3451_2980.pdf

ศิริพร แซ่ลิ้ม. (2558). พฤติกรรมการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5207030379_3349_3339.pdf

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน : ข้อดีและเสียของแอปพลิเคชั่น. วารสารนักบริหาร. 33(4), น. 42-54.

สถาพร สิงหะ. (2556). การเปิดรับสื่อ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจกับการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวแบบดำน้ำลึกของนักดำน้ำชาวไทย. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1025

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก https://itm.eg.mahidol.ac.th/itm/wp-content/uploads/2020/04/MDES-ONDE-MIL-Survey-2019

เสมอ นิ่งเงิน. (2563). Generation กับพฤติกรรมการรับข่าวสารผ่านสื่อต่าง ๆ. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/5263

แอมทูบีมาร์เก็ตติ้ง. (2562). เปิดสถิติผู้ใช้ LINE ประเทศไทยในปี 2562. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563, จาก https://www.am2bmarketing.co.th/online-marketing-article/line-statistics-thailand/