การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพล ศรีตันดา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชรินทร์ มั่งคั่ง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • แสวง แสนบุตร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.5

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา, การเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน, ทักษะการคิดแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 2) ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และ 3) ศึกษาระดับทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้และคุณภาพของแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน จำนวน 9 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 6 คน พิจารณาโดยเจาะจงเป็นกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 4 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ รวม 12 ชั่วโมง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง ใช้กระบวนการ PDAR มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน (P – Plan)  2) ขั้นการออกแบบ (D – Design) 3) ขั้นการปฏิบัติการ (A – Action) และ 4) สะท้อนคิด (R – Reflect) ซึ่งทุกแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการวิจัย ตลอดจนการดำเนินกิจกรรม และสามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้ สำหรับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ระดับมีคุณภาพมาก และนักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด

References

จุฑามาศ แหนจอน. (2562). จิตวิทยาการรู้คิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). แกรนด์พอยท์.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ พิมดี, พรชัย เจดามาน, เผชิญ กิจระการ, อัคพงศ์ สุขมาตย์, กลวัชร วังสะอาด และเจริญ สุขทรัพย์. (2560). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(2), 199-206.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). (2560). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

รุ่งชีวา สุขดี. (2531). การศึกษาผลการออกแบบการทดลองในการสอนวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 12). เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษิ์วงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทย 2559/2560: แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2016). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1–17.

Piaget, J. (1962). The stages of the intellectual development of the child. Bulletin of the Menninger Clinic, 26(3), 120–128.

Polya, G. (1945). How to solve it: A new aspect of mathematical method. (2nd ed.). Princeton University Press.

Sanchez, A. V., & Ruiz, M. P. (Eds.). (2008). Competence-based learning. University of Deusto.

Weir, J. J. (1974). Problem solving is everybody’s problem. The Science Teacher, 4, 16-18

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

ศรีตันดา เ., มั่งคั่ง ช., & แสนบุตร แ. (2024). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 12(1), 65–78. https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.5