บทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซน อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.12คำสำคัญ:
บทบาทของของชุมชน , การจัดทำแผนด้านสุขภาพประจำตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพ และศึกษาแนวทางในการสร้างบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซน อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองซน จำนวน 325 คน และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 14 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน 14 หมู่บ้าน จำนวน 17 คน และตัวแทนกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลนาทม จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test (Independent sample) ค่า F-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าครัวเรือนมีความเห็นต่อบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยหัวหน้าครัวเรือนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับแนวทางในการสร้างบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพ พบว่า ควรจัดเวทีการประชุมขึ้นภายในหมู่บ้านเพื่อให้ได้แนวทางในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ระดมความคิดเห็นและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของหมู่บ้าน และควรให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะหรือเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ
References
กัญรยาณีย์ กาฬภักดี. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน บ้านไม้รูด ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถนัต จ่ากลาง. (2551). การมีส่วนร่วมของผู้นำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคอีสาน, 22(3), 107-111.
ทองใบ สุดชารี. (2549). การวิจัยธุรกิจปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตำรา. คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นาถนภา กอบวิยะกรณ์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
นิรุจน์ อุทธา. (2551). ทศวรรษที่ 4 การสาธารณสุขมูลฐาน. วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน, 23(3), 5-9.
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุวิริยสาส์น.
พิศมร เพิ่มพูน และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 6(1), 168-211.
วนิดา วิระกุล และนัตถะวุฒิ ภิรมย์ไทย. (2547). การประเมินผลศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนในการบริหารจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. คลังนานาวิทยา.
วิชิต อู่อ้น. (2548). การวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองซน. (2565). แผนด้านสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซน.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed). Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา