ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

ผู้แต่ง

  • อริศรา กองแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์
  • ไททัศน์ มาลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.11

คำสำคัญ:

การทำงานเป็นทีม, สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, บุคลากรภาครัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านโครงสร้างของทีม ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน และปัจจัยด้านภาวะผู้นำทีม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากบุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน ทำให้บุคลากรมีสัมพันธภาพที่ดี มีการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

References

กรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมภายในสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีระเดช ริ้วมงคล. (2556). การทำงานเป็นทีม (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นัฐธิดา วงษ์รอต. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมกับการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นาฏยา สุวรรณศิลป์. (2561). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของทีมงาน: กรณีศึกษา กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปลื้มจิตร บุญพึ่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(6), 135-147.

พิมพ์ลภัส ถ้วยอิ่ม. (2553). การทำงานเป็นทีมของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

เรณู เชื้อสะอาด. (2552). การทำงานเป็นทีมด้านวิชาการของพนักงานครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2550). การทำงานเป็นทีม. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2564). รายงานประจำปี 2564. วิชั่น พรีเพรส.

สุวรรณา พงษ์ผ่องพูล. (2559). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อรุณวดี รื่นรมย์. (2553). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยองวิทยาคมสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำนวย มีสมทรัพย์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหาร งานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research actiuities ctivities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Parker, G. M. (1990). Team players and team work: The new competitive business strategy. Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

How to Cite

กองแก้ว อ., & มาลา ไ. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 11(2), 33–46. https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.11