ผลของการใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ระบำดอกบัว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.12คำสำคัญ:
ทักษะปฏิบัติเดวีส์, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, นาฏศิลป์ไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 ของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ระบำดอกบัว ก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ระบำดอกบัว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 หลังเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียวทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า การใช้รูปแบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ทำให้มีคะแนนเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( = 14.17) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากที่เรียนจบหน่วยการเรียน เรื่อง ระบำดอกบัว สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่โรงเรียนกำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชนันธร หิรัญเชาว์. (2562). การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ไทยและความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของเดวีส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ซารัญฎา ผลจันทร์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ และทักษะการเขียนภาพระบายสี โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนภาพระบายสีโปสเตอร์ตามหลักการของเดวีส์ร่วมกับเทคนิค STAD บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 18). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปนัดดา แสนสิงห์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ประกอบสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง รําวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพโรจน์ คะเชนทร์. (ม.ป.ป.). การสอนนาฏศิลป์. [ม.ป.ท.].
มนชนก รัตนจำนงค์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ ด้วยรูปแบบการสอนแบบทางตรงผสมผสานทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มะลิวัลย์ ปัทมะ. (2551). การพัฒนาเจตคติและความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคแม่แบบผสมผสาน การวิจัยเชิงทดลองแบบอนุกรมเวลา. วารสารครุศาสตร์, 4(1), 525.
เรณู โกศินานนท์. (2548). นาฏศิลป์. ไทยวัฒนาพานิช.
ลักขณา บุตรพรม. (2557). การใช้ชุดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติ เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่านาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุพัตรา รักชาติ. (2557). ผลการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และทักษะปฏิบัติดนตรีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุพัตรา สุโพธิ์พัฒน์. (2562). การศึกษาทักษะนาฏศิลป์ไทยและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบำนพรัตน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
เสาวรี ภูบาลชื่น. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรง ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ วิชาศิลปะ สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(5), 81-92.
Davies, I. K. (1971). The management of learning. McGraw-Hill.
Slavin, R. E. (1982). Cooperative learning: Student teams. What research says to the teacher. ERIC. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED222489.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา