แนวทางการพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงาน สังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุปรียา ลาคำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ธนวิทย์ บุตรอุดม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.10

คำสำคัญ:

การพัฒนาองค์กร, องค์กรแห่งความสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานจ้างเหมา จำนวน 160 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือแรงงานจังหวัด สวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัด จัดหางานจังหวัด ประกันสังคมจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานที่ปฏิบัติงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรเห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อสภาพองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคายโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพองค์กรแห่งความสุขที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านผู้นำและด้านการจัดการ รองลงมาคือด้านนโยบาย ด้านสวัสดิการ ด้านโครงสร้าง และด้านความผูกพันองค์กร และ 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย ควรส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีม จัดโครงสร้างให้สอดรับกับการทำงานแนวระนาบ สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย ควรมีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงแรงงานและปรับให้เกิดความเหมาะสมในการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

References

กระทรวงแรงงาน. (2563). แผนปฏิบัติการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน 13 ฉบับที่ 4 (2563-2565).

ก้านทอง บุหร่า. (2560). องค์กรแห่งความสุข: แนวคิด กระบวนการและบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 169-176.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2556). คู่มือตรวจสอบสุขภาวะระดับองค์กรด้วย Happy workplace index (พิมพ์ครั้งที่ 3). สองขาครีเอชั่น.

ทวีศักดิ์ วัดอุดม และบุษบง วิเศษพลชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบองค์กรสร้างสุขของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(1), 122-130.

ธนวิทย์ บุตรอุดม. (2561). การประเมินความสำเร็จการบริหารทรัพยากรบุคคลของเทศบาล

ในจังหวัดลำปาง. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3), 93-115.

ปรมต วรรณบวร. (2560). การสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(1), 25-38.

ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม, ดวงเนตร ธรรมกุล, อัจศรา ประเสริฐสิน, จริยา ชื่นศิริมงคล, และศิริพร ครุฑกาศ. (2558). ปัจจัยพัฒนาองค์กรแห่งความสุข (ภาครัฐ) : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(1), 52-62.

เยาวลักษณ์ ตระกูลเมฆี และวิมล งามยิ่งยวด. (2564). ความสุขในการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพในโรงพยาบาลภาครัฐ 4 จังหวัดภาคใต้. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 (น.1522-1530). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิกานดา ตั้งเตรียมใจ. (2563). ความสุขในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 174-188.

วิริยาภรณ์ แก้วเกิด, พรรัตน์ แสดงหาญ, และอภิญญา อิงอาจ. (2560). การดำเนินงานเพื่อสร้างความสุขและความผูกพันของพนักงานในองค์กรสุขภาวะต้นแบบ. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2), 13-29.

อภิรัฐ ศิริวงษ์. (2560). การศึกษาระดับความสุข 9 ด้านของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต.

ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560 (น.969-979). มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-17

How to Cite

ลาคำ ส., & บุตรอุดม ธ. (2024). แนวทางการพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงาน สังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 12(2), 20–38. https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.10