การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดสะเทียน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.13คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, แผนยุทธศาสตร์, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดสะเทียน 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าครัวเรือน 326 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วม 35 คน ได้แก่ ตัวแทนหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในตำบลกุดสะเทียน 20 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดสะเทียน 1 คน ตัวแทนสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดสะเทียน 6 คน และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน 8 หมู่บ้าน 8 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Sample) และ F-test ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยรวมในระดับปานกลาง โดยประชาชนในครัวเรือนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ไม่แตกต่างกัน สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ควรสำรวจปัญหา ความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน 2) ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ ควรจัดประชุมหรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบแผนฯ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เสนอปัญหา ความต้องการและแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ 3) ด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ควรหาแนวทางให้คนในชุมชนมีรายได้ มีงานทำ มีอาชีพเสริม สร้างความรักความสามัคคีกันในชุมชน ดูแลผลประโยชน์ของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทุกคน และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมประเมินผลควรให้ประชาชนร่วมประเมินผลและติดตามแผนฯ จัดเวทีให้ประชาชนพบปะกันเป็นกลุ่มย่อย สอบถามความพึงพอใจและนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาแผนครั้งต่อไปอย่างจริงจัง
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบลและ อบต.
ประพันธ์ วรรณบวร. (2543). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระกิตติชัย ปญฺญาธโร (สินคง). (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รจนา นอยปลูก. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเนชั่น.
องค์การบริหารส่วนตำบลกุดสะเทียน. (2565ก). ประวัติและข้อมูลสภาพทั่วไปตำบลกุดสะเทียน. http://kudsatian.go.th
องค์การบริหารส่วนตำบลกุดสะเทียน. (2565ข). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดสะเทียน.
อมรรัตน์ ศิริกาญจนวงศ์. (2551). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานเทศบาลตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรพินท์ สพโชคชัย. (2550). หลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Yamane, T. (1967). Statistic: An introductory analysis (2nd ed.). Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-01-02 (2)
- 2023-12-26 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา