แนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมของเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • เตชวัน ปัญญาวุฒิธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.2

คำสำคัญ:

มรดกวัฒนธรรม, คุณค่า, การจัดการ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าและความหมายของมรดกวัฒนธรรมและเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมของเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งใช้วิธีการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญและการสุ่มแบบเจาะจง สำหรับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มชาวบ้านตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเมืองเวียงสระ รวมถึงเก็บข้อมูลจากการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมภายในพื้นที่เมืองเวียงสระและการปริทัศน์วรรณกรรม ซึ่งได้นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และประมวลผลในรูปแบบเชิงพรรณนา พบว่า มรดกวัฒนธรรมของเมืองเวียงสระมีคุณค่าในด้านต่าง ๆ ได้แก่ คุณค่าเชิงสัญลักษณ์ คุณค่าเชิงวิชาการ คุณค่าเชิงสุนทรียะ คุณค่าเชิงเศรษฐกิจ และคุณค่าเชิงจิตใจ ส่วนการเสนอแนะแนวทาง
การจัดการมรดกวัฒนธรรมของเมืองเวียงสระ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ 1. แนวทางก่อนการดำเนินการจัดการมรดกวัฒนธรรม คือ การระบุแหล่งมรดกวัฒนธรรม การสำรวจมรดกวัฒนธรรม การประเมินมรดกวัฒนธรรม และการจัดทำบัญชีรายการมรดกวัฒนธรรม 2. แนวทางการดำเนินการจัดการมรดกวัฒนธรรม คือ การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม การพัฒนามรดกวัฒนธรรม และการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรม และ 3. แนวทางหลังการดำเนินการจัดการมรดกวัฒนธรรม คือ การรักษาและสืบทอดมรดกวัฒนธรรม และการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรม

References

กรมศิลปากร. (2533). ทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. (2556). คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อการปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน. กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2562). เมืองเก่าในประเทศไทย และแนวคิดภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์กับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ครั้งที่ 2 เมืองเก่าและบริบทสังคมร่วมสมัย. นนทบุรี: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์. (2555). การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

พระมหาศุภชัย สุภชโย (วงศ์พิพันธ์), พระสมุห์ธนภัทร ธนภทโท (ทิพย์วงษ์), ดิเรก นุ่นกล่ำ, และไพรัตน์ ฉิมหาด. (2564). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเมืองโบราณเวียงสระ ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 393-406.

พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504. (2504). ราชกิจจานุเบกษา, 78(ตอน 66), 980-998.

พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษา, 109(ตอน 38), 12-26.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559. (2559). ราชกิจจานุเบกษา, 133(ตอน 19 ก), 1-9.

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2556). การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2564. (2564). ราชกิจจานุเบกษา, 138(ตอนพิเศษ 193 ง), 1-5.

รัตตพล สุวรรณโชติ และคณะ. (2559). โครงการแนวทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองเวียงสระ เพื่อสร้างสำนึกรักท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มเยาวชน ครูภูมิปัญญา และองค์กรท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมาคมอีโคโมสไทย. (2554). กฎบัตรประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สมาคมอีโคโมสไทย.

สหสัญญ์ สัจจกุลวนิชย์. (2557). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม: ทางเลือกสำหรับโบราณสถานสระมรกต จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2547). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองเก่า (เล่ม 1-6). กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สุขกมล วงศ์สวรรค์. (2555). พัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากหลักฐานทางโบราณคดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Fielden, B. M., & Jokilehto, J. (1993). Management guidelines for word cultural heritage sites. Rome: ICCROM.

Lipe, W. D. (1984). Value and meaning in cultural resources. In Approaches to the archaeological heritage (pp.1-11). Cambridge: Cambridge University Press.

Unesco. (2003). Convention for the safeguarding of the intangible cultural heritage. Paris: Unesco.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

ปัญญาวุฒิธรรม เ., & วัฒนาสวัสดิ์ เ. . (2023). แนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมของเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 11(1), 21–50. https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.2