This is an outdated version published on 2023-12-26. Read the most recent version.

โครงสร้างระบบนิ้วซอไทยสำหรับบรรเลงวงดนตรีไทยร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • วีรวัฒน์ เสนจันทร์ฒิไชย วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.14

คำสำคัญ:

ซอไทย, ดนตรีไทย, ดนตรีไทยร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง โครงสร้างระบบนิ้วซอไทยสำหรับบรรเลงวงดนตรีไทยร่วมสมัยเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยสร้างสรรค์เรื่องกลวิธีการใช้ระบบนิ้วเพื่อบรรเลงซอไทยสำหรับวงดนตรีไทยร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างระบบนิ้วซอไทยสำหรับบรรเลงวงดนตรีไทยร่วมสมัยด้วยวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โครงสร้างการใช้ระบบนิ้วซอไทยสำหรับวงดนตรีไทยร่วมสมัย ทางหนึ่งได้มาจากดนตรีตะวันตก ดนตรีชาติพันธุ์อื่น ๆ และดนตรีไทยแท้ที่เป็นประเภทเครื่องสีด้วยกัน อีกทางหนึ่งมาจากการฟังลักษณะของเสียง แล้วจึงนำมาวิเคราะห์หาวิธีการใช้ระบบนิ้วการบรรเลง เพื่อให้ได้ตามสำเนียง ซอไทยแต่ละชนิดมีกายภาพต่างกัน ซอด้วงเสียงนิ่ง แหลมใส ฟังระดับเสียงได้ชัดเจน นิยมใช้เทคนิคการสั่นสาย (Vibrato) ซออู้เมื่อนำเทคนิคการสั่นสาย (Vibrato) มาใช้อาจทำให้เสียงไม่นิ่งจึงใช้การพรมแทน อีกทางหนึ่งอยู่ที่การตอบโจทย์เพลงให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์ ขอบเขตเสียงซอแต่ละชนิดมีความแตกต่าง ผู้บรรเลงต้องค้นหาวิธีการดำเนินทำนอง ระบบนิ้ว ระยะตำแหน่งนิ้ว และการย้ายช่วงตำแหน่ง (Position) ปรับท่วงทำนองให้เกิดความไพเราะ เอกลักษณ์ของสำเนียงเพลง มีบันไดเสียง (Scale) เป็นตัวแปรในการควบคุมเสียงให้ถูกต้อง นิ้วชิด-ห่าง ตามความถี่ในแต่ละบันไดเสียง ไม่ให้เพี้ยนไปจากสำนวนนั้น ๆ ปัญหามากที่สุด คือ เสียงที ตัวอย่าง ทีแฟล็ต (Bb) หรือ (ที-) ที่นิยมใช้ในเพลงสำเนียงมอญ หากเป็นเสียง ท สำเนียงไทย ฯลฯ นิ้วกลางจะออกห่างจากเสียง ล ตามสำนวนลีลา การฟังเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดสำหรับนักดนตรีเครื่องสีที่ต้องมีโสตทักษะการรับรู้เสียงในระบบต่าง ๆ ให้เห็นภาพลักษณะเสียงต่าง ๆ ความแม่นยำ เข้าใจบันไดเสียงและหลักการประสานเสียงแบบสากล (Harmony) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความกลมกลืนเข้ากับวงดนตรีที่ร่วมบรรเลง ผู้บรรเลงจึงควรตระหนักในการพัฒนาด้านโสตทักษะการฟัง เพื่อบรรเลงได้อย่างกลมกลืนสมบูรณ์

References

จันทิมา นิลทองคำ. (2540). การศึกษาวิเคราะห์วงดนตรีไทยร่วมสมัย: กรณีศึกษาวงฟองน้ำ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2559). เสียงเสนาะซอสามสาย. อัพบีทครีเอชั่น.

ยงยุทธ เอี่ยมสะอาด. (2555). การศึกษาเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรยศ ศุขสายชล. (2541). ทฤษฎีเสียงดนตรีไทย. ห้องภาพสุวรรณ.

วริสร เจริญพงศ์. (2552). การสร้างสรรค์งานดนตรีกรรมแนวดนตรีไทยร่วมสมัย เพลงลำนำเจ้าพระยา ของ ชัยภัค ภัทรจินดา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิสุทธิ์ ไพเราะ. (2555). การบริหารจัดการวงดนตรีไทยร่วมสมัย กรณีศึกษาวงโจงกระเบน. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 15(27), 16-25.

สมภพ เขียวมณี. (2560). เทคนิคการสีซอด้วงขั้นสูง. [ม.ป.ท.].

สราวุฒิ สุจิตจร. (2545). การวิเคราะห์เสียงดนตรีไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สุกรี เจริญสุข, สงัด ภูเขาทอง, อนรรฆ จรัณยานนท์, ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์ และสนอง คละงพระศรี. (2540). การวิจัยเพื่อตั้งระดับเสียงและบันไดเสียงมาตรฐานของดนตรีไทย. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อานันท์ นาคคง. (2555). พัฒนาการของวงดนตรีไทยร่วมสมัยโดยสังเขป สุนทรภรณ์-สังคีตประยุกต์-สังคีตสัมพันธ์. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.

อานันท์ นาคคง. (2556). การศึกษาวงดนตรีไทยร่วมสมัยและผลงานดนตรีไทยร่วมสมัยในสังคมไทยปัจจุบัน. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

Versions

How to Cite

เสนจันทร์ฒิไชย ว. (2023). โครงสร้างระบบนิ้วซอไทยสำหรับบรรเลงวงดนตรีไทยร่วมสมัย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 11(2), 69–96. https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.14