ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเรียนแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในรายวิชาทักษะทางศิลปะการแสดงของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ ภูมิวัฒนะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.4

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนออนไลน์, ศิลปะการแสดง, นักศึกษาปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเรียนแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในรายวิชาทักษะทางศิลปะการแสดงของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาศิลปะการแสดง จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือในการเรียนออนไลน์ โดยใช้การเชื่อมต่อสัญญาณผ่านเครือข่ายมือถือ และเรียนออนไลน์ที่หอพัก นักศึกษามีความเห็นต่อปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเรียนแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในรายวิชาทักษะทางศิลปะการแสดงโดยรวมในระดับมาก โดยเห็นว่าปัจจัยด้านผู้สอนมีผลกระทบต่อการเรียนแบบออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และ ปัจจัยด้านสถานที่ศึกษา ตามลำดับ

References

กรมควบคุมโรค. (2563). รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19). สืบค้น 28 มิถุนายน 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

เฉลิมพล ภูมิรินทร์. (2550). การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บแบบผสมผสานวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง อายุทางธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ และการลำดับชั้นหินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐกาญจน์ เฮงไพจิตร. (2564). ความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ในช่วงโควิด-19. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิด แก้ปัญหาของนักศึกษาครู. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. Veridian E-Journal Silpakorn University, 4(1), 652-666.

นรภัทร พิพัฒภูมิพร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนออนไลน์ช่วงสถานการณ์ โควิด 19 ของนักศึกษาสาขาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานเทคโนโลยี. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประเสริฐ เกิดมงคล, พิเชษฐ อุดมสมัคร และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยม ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(1), 121-140.

พรณรงค์ พงษ์กลาง. (2553). การเปิดรับความรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเรียนแบบออนไลน์ (E-Learning). การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, อาจารีย์ ประจวบเหมาะ, ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์, วทัญู รัศมิทัต และสุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 237-251.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส Covid-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 287-290.

วีนัส ภักดิ์นรา. (2564). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(1), 8-19.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). ไวรัสโคโรนา COVID-19. สืบค้น 30 มิถุนายน 2565, จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/covid-19/

อารยา เจรนุกุล และแสงเดือน พรมแก้วงาม. (2564). ประสบการณ์การเรียนการสอนออนไลน์วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษา. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(2), 264-282.

World Health Organization. (2022). Coronavirus (Thailand). Retrieved July 5, 2022, from https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

ภูมิวัฒนะ ธ. (2023). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเรียนแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในรายวิชาทักษะทางศิลปะการแสดงของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 11(1), 75–88. https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.4