อัตลักษณ์เพลงหน้าพาทย์: ประพันธ์โดยครูสำราญ เกิดผล

ผู้แต่ง

  • ปานหทัย วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.3

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เพลง, อัตลักษณ์, เพลงหน้าพาทย์, ครูสำราญ เกิดผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างและอัตลักษณ์ของเพลงหน้าพาทย์ที่ประพันธ์โดยครูสำราญ เกิดผล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า เพลงหน้าพาทย์ที่ประพันธ์โดย ครูสำราญ เกิดผล มีทั้งหมด 11 เพลง ทุกเพลงเป็นเพลงหน้าพาทย์ประเภทเพลงตระ อัตราจังหวะสองชั้น มีโครงสร้างแบบ 4 ไม้ลา 8 ไม้ลา และ 9 ไม้ลา ทุกเพลงบรรเลงต่อท้ายด้วยรัว ทางที่ใช้ในการประพันธ์เพลงหน้าพาทย์ มีทั้งหมด 3 ทาง ได้แก่ ทางใน ทางนอก และทางกลาง อัตลักษณ์เพลงหน้าพาทย์ พบว่า กระสวนจังหวะที่ใช้ในการประพันธ์เพลงหน้าพาทย์ทั้งหมดมีจำนวน 30 รูปแบบ มีรูปแบบจังหวะที่พบในทุกเพลงจำนวน 4 รูปแบบ คือ รูปแบบ A B C และ H กระสวนทำนองแสดงในรูปแบบเส้นตรงมีทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ขึ้นและเคลื่อนที่ลง ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบทำนองที่ไม่ซับซ้อนและไม่แสดงลักษณะขึ้นลงเป็นฟันปลา การใช้ทำนองในการประพันธ์มี 3 รูปแบบ คือ ทำนองเพลงเฉพาะ ทำนองเพลงหน้าพาทย์และทำนองเพลงทั่วไป สามารถแสดงเป็นอัตลักษณ์ด้านทำนองเฉพาะของครูสำราญได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ ด้านการแจกแจงมือฆ้องที่แสดงอัตลักษณ์ของเพลงหน้าพาทย์ที่ครูสำราญ เกิดผล เป็นผู้ประพันธ์ มีทั้งหมด 8 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการตีซ้ายประคบขวา เทคนิคตีขวาประคบซ้าย เทคนิคการใช้มือซ้าย เทคนิคการตีลักจังหวะด้วยมือขวา เทคนิคการตีคู่ 2 แบบเหลื่อม เทคนิคการตีคู่ 2 แบบพร้อมกัน เทคนิคการตีคู่ 2 แบบกรอ และเทคนิคการตีคู่ 5 ที่ไม่ใช่ลูกโยน

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2558). เพลงหน้าพาทย์ ไหว้ครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมป์.

ขำคม พรประสิทธิ์. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องอัตลักษณ์เพลงฉิ่ง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุพร รัตนวราหะ. (2538). เพลงหน้าพาทย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุโขทัย: โรงพิมพ์วิทยา.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2534). การวิเคราะห์ทางฆ้องเพลงสาธุการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปานหทัย สุคนธรส. (2552). เพลงชุดโหมโรงกลางวันตำรับครูทองดี ชูสัตย์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2550). ปฐมบทดนตรีไทย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานพ วิสุทธิแพทย์. (2533). ดนตรีไทยวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สงบศึก ธรรมวิหาร. (2542). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด ภูเขาทอง. (2539). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2548). ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2548. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำราญ เกิดผล. ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์, 10 มกราคม 2558.

อุทิศ นาคสวัสดิ์. (2546). ทฤษฎีและหลักปฏิบัติดนตรีไทยและพจนานุกรมดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา ป. (2023). อัตลักษณ์เพลงหน้าพาทย์: ประพันธ์โดยครูสำราญ เกิดผล. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 11(1), 51–74. https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.3