การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.6คำสำคัญ:
การพัฒนาเศรษฐกิจ, เศรษฐกิจดิจิทัล, เทคโนโลยีดิจิทัลบทคัดย่อ
เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) ได้ถูกนิยามโดย Tapscott ในปี ค.ศ. 1996 ว่าเป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน โดยเฉพาะเศรษฐกิจทั่วโลกที่เผชิญกับความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างที่คาดการณ์ได้ยากเช่นปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจดิจิทัลเพราะเห็นผลเชิงประจักษ์ในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ
GDP การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจดิจิทัล
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการสาธารณะที่ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็วและการเข้าถึงการบริการได้มากขึ้น ทำให้ทุกประเทศกำหนดนโยบายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีองค์ประกอบที่เศรษฐกิจดิจิทัลต้องมี
คือ 1) ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสารของผู้บริโภค 2) ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับหน่วยงานภาครัฐในการให้บริการสาธารณะ 3) การกำหนดนโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ 4) กฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้อและส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลจึงเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ แผนงานและบทบาทที่ชัดเจนในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน แต่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลนี้ยังมีประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่ต้องก้าวพ้นให้ได้ เช่น งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัล ความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการเข้าถึงและใช้บริการทางดิจิทัล การรักษาข้อมูลส่วนบุคคล การเกิดอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นต้น
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ.2561-2565. สืบค้น 1 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/aK6ju
กิรพัฒน์ เขียนทองกุล, วรัญญู เสนาสุ และจักรกฤษ กมุทมาศ. (2564). นโยบาย เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย: บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสถาบันระหว่างหน่วยงานของรัฐ. วารสารปาริชาต, 34(1), 192-205.
คนึงนิจ คชศิลา. (2560). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 63(1), 61-70.
ชญาพัฒน์ เลิศอำนาจกิจเสรี. (2565). เศรษฐกิจดิจิทัล: การเกิดและพัฒนาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2273-2283.
ชญาพัฒน์ เลิศอำนาจกิจเสรี และนราธิป ปิติธนบดี. (2564). มหาวิทยาลัยอัจฉริยะในยุคข้อมูลขนาดใหญ่. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 14(2), 1-11.
ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์, พรนภา เตียสุธิกุล และบุญทัน ดอกไทสง. (2561). ปัญหา ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 91-102.
บรรพต กิติสุนทร. (2560). เศรษฐกิจดิจิทัลภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐศาสตร์การคลังของภาครัฐ. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (หน้า 1292-1300). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์) และพระศิลาศักดิ์ สุเมโธ (บุญทอง). (2564). การปรับตัวองค์กรภาครัฐสู่ยุครัฐบาลดิจิทัล. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(3), 289-299.
วรรณภา ทองแดง. (2563). ผลกระทบเศรษฐกิจดิจิทัล: การขยายตัวของรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษาและภัยคุกคามทางไซเบอร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(2), 345-366.
วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ และเวทยา ใฝ่ใจดี. (2563). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 8(1), 15-22.
ศุภโชค นิจสุนกิจ. (2561). แนวทางการนำนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไปปฏิบัติในองค์การมหาชน. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 9(2), 37-48.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุป สถานะการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย พ.ศ. 2562. สืบค้น 1 มกราคม 2566, จาก https://onde.go.th/view/1/
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2558). Digital economy. สืบค้น 1 มกราคม 2566, จาก https://www.dga.or.th/document-sharing/article/35851
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2563). Thailand digital government 2021 (DG2021). สืบค้น 1 มกราคม 2566, จาก https://www.dga.or.th/document-sharing/dg2021/
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2561). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. สืบค้น 1 มกราคม 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/master-plan-digital-economy/1st-master-plan-for-digital-economy
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2566). สถานการณ์เศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทย. สืบค้น 1 มกราคม 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/thailand-digital-economy-glance
อภิชาติ ศิริบุญญกาล และศรุดา สมพอง. (2562). บทบาทของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 255-269.
อัครนันท์ คิดสม และนนทร์ วรพาณิชช์. (2558). ความเต็มใจจ่ายและการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล จากองค์กร บริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษา 3 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 12(2), 54-72.
Baller, S., Battista, A. D., Dutta, S., & Lanvin, B. (2016). The networked readiness index 2016. In S. Baller, S. Dutta, & B. Lanvin (Eds.), The global information technology report 2016: Innovating in the digital economy (pp.3-38). https://www.insead.edu/sites/default/files/assets/dept/globalindices/docs/GITR-2016-report.pdf
Barefoot, K., Curtis, D., Jolliff, W., Nicholson, J. R., & Omohundro, R. (2018). Defining and measuring the digital economy. Washington, DC: Bureau of Economic Analysis.
Bukht, R., & Heeks, R. (2017). Defining, conceptualizing and measuring the digital economy (Research report). Manchester: Centre for Development Informatics.
Bukht, R., & Heeks, R. (2018). Digital economy policy: The case example of Thailand (Research report). Manchester: Centre for Development Informatics.
Cahyadi, A., & Magda, R. (2021). Digital leadership in the economies of the G20 countries: A secondary research. Economies, 9(32), 1-15.
Gupta, G. (2019). Education and digital economy: Trends, opportunities and challenges. In ICMLT 2019: Proceedings of the 2019 4th international conference on machine learning technologies (pp.88-92). https://doi.org/10.1145/3340997.3341013
IMD World Competitiveness Center. (2020). IMD world digital competitiveness ranking 2020. Retrieved January 1, 2023, from https://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/world-digital-competitiveness/
Jurayevich, M. B., & Bulturbayevich, M. B. (2020). The impact of digital economy on economic growth. International Journal of Business, Law, and Education, 1(1), 4-7.
Lane, N. (1999). Advancing the digital economy into the 21st century. Information Systems Frontiers, 1(3), 317-320.
Li, K., Kim, D. J., Lang, K. R., Kauffman, R. J., & Naldi, M. (2020). How should we understand the digital economy in Asia? Critical assessment and research agenda. Electronic Commerce Research and Applications, 44, 101004.
Limsarun, T. (2015). The sustainability of small and medium-sized enterprises (SMEs) in a digital economy era. Journal of Business Administration, The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 4(2), 113–124.
Malisuwan, U., Tiamnara, N., & Suriyakrai, N. (2016). National digital economy plan to foster social and economy benefits in Thailand. Journal of Advances in Information Technology, 7(2), 140-145.
Meenu, G. (2018). Digital economy and the role of information technology. International Journal of Management and Information Technology, 3(2), 53-58.
Mesenbourg, T. L. (2001). Measuring the digital economy. Retrieved January 1, 2023, from https://www.census.gov/content/dam/Census/library/working-papers/2001/econ/umdigital.pdf
Mulaydinov, F. (2021). Digital economy is a guarantee of government and society development. Elementary Education Online, 20(3), 1474-1479.
Noonpakdee, W., Phothichai, A, & Khunkornsiri, T. (2018). The readiness for moving toward digital Thailand – A case study. International Journal of Information and Education Technology, 8(4), 273-278.
Tapscott, D. (1996). The digital economy: Promise and peril in the age of networked intelligence. New York: McGraw-Hill.
United Nations Conference on Trade and Development. (2015). Information economy report 2015: Unlocking the potential of e-commerce in developing countries. Retrieved January 1, 2023, from https://unctad.org/system/files/official-document/ier2015_en.pdf
World Bank. (2019). The digital economy in Southeast Asia: Strengthening the foundations for future growth. Washington, DC: Information and Communications for Development, World Bank.
Zhang, L., & Chen, S. (2019). China’s digital economy: Opportunities and risks. International Monetary Fund.
Zhenlong, M. (2021). Digital economy value chain: Concept, model structure, and mechanism. Applied Economics, 53(37), 4342-4357.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา