ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • สิอร หาสาสน์ศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.4

คำสำคัญ:

ปัญหากฎหมาย, อุปสรรคกฎหมาย, เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงสังเคราะห์เอกสารนี้ มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคกฎหมายในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการสังเคราะห์เอกสารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - 2565 ที่ตีพิมพ์และปรากฏในฐานข้้อมููลออนไลน์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ตที่ได้จากการสืบค้นจำนวน 50 เรื่อง และผ่านเกณฑ์การสังเคราะห์ จำนวน 25 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหา 7 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายพิพากษาศาลปกครองสูงสุดกรณีอายุของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายการยกฐานะมหาวิทยาลัยราชภัฏให้เป็นนิติบุคคล 3) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 4) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายการจัดกิจกรรมนักศึกษา 5) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายในการให้ความคุ้มครองงานวิจัย 6) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา และ 7) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับข้อเสนอแนะที่ต้องนำไปปรับปรุง คือ ควรศึกษากฎหมาย พระราชบัญัติ ประกาศ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีประสิธิภาพ ควรมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง จัดทำคู่มือการใช้อย่างเป็นระบบ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอและเหมาะสม และให้ความรู้แก่นักศึกษาในการจัดกิจกรรมที่ขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยการจัดกิจกรรมนักศึกษา ควรมีข้อกำหนดกฎหมายอย่างเคร่ง และควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานวิจัยทางวิชาการของบุคลากร วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและนำเข้าโปรแกรมตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ ควรมีการวางแผนการบริหารความเสี่ยง มีการบริหารงานและการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามข้อกฎหมายที่กำหนด

References

กิตติภพ รักษาราษฏร์. (2561). การศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการจัดกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(1), 152-161.

เกียรติเฉลิม รักษ์งาม. (2563). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 193-204.

เจนพล ทองยืน. (2555). การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารจันทรเกษมสาร, 18(34), 87-96.

เฉลิมพล พลมุข. (2562). อนาคต ม.ราชภัฏ. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/

ณดา จันทร์สม. (2565). ธรรมาภิบาลกับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เทวฤทธิ์ วิญญา. (2565). หลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 271-280.

ธนธร ทาคำฟู. (2562). บทวิเคราะห์จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดกรณีอายุของอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์, 3(1), 35-51.

ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช. (2562). ทัศนะต่อประเด็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏใกล้เจ๊ง?” จะหลงทางหรือปรับตัว. ประชาไท. https://prachatai.com

นริศวร คําเจริญ. (2560). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต, 12, 1214-1222.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547). สำนักนายกรัฐมนตรี.

พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์. (2556). การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. https://thainetizen.org

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2565). การศึกษาข้อมูลข้อดีข้อเสียของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ.

ยุทธนา กาเด็ม. (2561). การศึกษาเชิงประจักษ์ของอุปสรรค (Threats) ในการดำเนินงานด้านการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 141-150.

เยาวเรศ นกศิริ. (2557). ปัญหากฎหมายในการให้ความคุ้มครองงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 51-60.

วรรณรุจี ยันทะแย้ม. (2564). ปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมายการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(2), 197-210.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2563). คดีปกครองว่าด้วยอายุของอธิการบดีในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 49(1), 13-60.

สัมพันธ์ ฤทธิเดช. (2565). การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวกระทรวงใหม่. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร. (2556). ร่างพระราชบัญญัติระเบียบการ บริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา.

เสสินา นิ่มสุวรรณ์. (2558). ความรับผิดของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ BitTorrent Protocol [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อนุศักดิ์ ตั้งปณิธานวัฒน์ และคณะ. (2550). การพัฒนาและความพึงพอใจต่อเว็บเพจโครงการจัดตั้งกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. กองยุทธศาสตร์และพัฒนาวิทยาเขตปัตตานี. http://planning.pn.psu.ac.th/

อนุสรา คชนะ, สภาวดี พรายอำไพ, ธารินี จริยาปยุกต์เลิศ, และอุมาพร กาญจนคลอด. (2564). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พุทธศักราช 2560 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาถบุตรปริทรรศน์, 13(3), 22-32.

เอกฉัตร วิทยอภิบาลกุล. (2561). การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการเรียนของนักศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Jun-up, P. (2017). Behavior and aftermath of social media usage of senior high school students in Phitsanulok [Master’s thesis]. Naresuan University.

Scott, J. (1990). A matter of record, documentary sources in social research. Policy Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

โชติเวศย์ศิลป์ ภ., & หาสาสน์ศรี ส. (2024). ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 12(1), 47–64. https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.4