ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขพระราชบัญญัติอาวุธปืนของไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.1คำสำคัญ:
ปัญหาอาวุธปืน, อุปสรรคอาวุธปืน, พระราชบัญญัติอาวุธปืนของไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขพระราชบัญญัติอาวุธปืนของไทย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาอุปสรรคการควบคุมอาวุธปืน การควบคุมการมีและใช้อาวุธปืนตามกฎหมายในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม 2) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายเกี่ยวกับการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน การกำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุตลอดเวลาที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นเจ้าของอาวุธปืนยังไม่เหมาะสม 3) ปัญหาและอุปสรรคไม่มีกฎหมายกำหนดให้มีการจัดเก็บรายละเอียดของอาวุธปืน ไม่มีข้อมูลในการพิสูจน์อาวุธปืนและปลอกกระสุนปืนที่ใช้ในการกระทำความผิดตามกฎหมาย และ 4) ปัญหาและอุปสรรคการพกพาอาวุธปืนมีการพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติอาวุธปืน พุทธศักราช 2490 พบว่า 1) แนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการควบคุมอาวุธปืน ควรมีการบัญญัติวัตถุที่เป็นอันตรายให้เป็นอาวุธปืนโดยศึกษากฎหมายควบคุมอาวุธปืนของต่างประเทศ 2) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคกฎหมายเกี่ยวกับการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
ควรมีการออกประกาศฉบับใหม่ในเรื่องแต่งตั้งนายทะเบียน เจ้าพนักงาน และเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคไม่มีกฎหมายกำหนดให้มีการจัดเก็บรายละเอียดของอาวุธปืน ควรแก้ไขกฎหมายให้มีการจัดเก็บอัตลักษณ์ข้อมูลหัวกระสุนปืน และ 4) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการพกพาอาวุธปืน การแก้ไขปัญหาการพกพาอาวุธรายใหม่ ต้องขอใบอนุญาตซื้อปืน มีใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพจิตและมีผู้รับรองความประพฤติ
References
ชาติชาย วิริยะเจริญกิจ และสุรัสวดี แสนสุข. (2562). มาตรการควบคุมอาวุธปืนในประเทศไทย: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(2), 91-108.
ทวียศ ศรีเกต. (2559). กฎหมายการพกปืนและสิ่งเทียมอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บงกช เอกกาญธนกร. (2557). ปัญหาเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จํากัด. (2565ก). กราดยิงหนองบัวลำภู ทำไมควบคุมปืนไม่ได้ ไทยเสียชีวิตเพราะปืนสูงแค่ไหน? สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/
บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จํากัด. (2565ข). กราดยิงหนองบัวลำภู "มหาดไทย" ตื่นคุมขอใช้ปืน พร้อมสั่งเพิกถอนอนุญาต. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/
บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด. (2565). ส่องมาตรการรัฐแก้ปัญหา เตรียมออกกฎหมาย คืนปืนเถื่อน-คุมสารตั้งต้นผลิตยาเสพติด. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก https://workpointtoday.com/politics-gunanddrugs/
มนตรี ดอนฟุ้งไพร. (2562). อาวุธปืนทางนิติวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันนิติวิทยาศาสตร์.
มานิตย์ จุมปา และพรสันต์ เลี้ยงบุฐเลิศชัย. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คำอธิบายเรียงมาตราพร้อมคำพิพากษาศาลฎีกา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
วิสาขมาส อินทรชูติ. (2564). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ศึกษาเฉพาะกรณีอาวุธปืน. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.lawgrad.ru.ac.th/Abstracts/1306
ศุภรัฐ ประเสริฐปาลฉัตร. (2565). ปัญหาเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืน ตามมาตรา 8 ทวิพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน. วิทยานิพนธ์ปริญญา นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สรารักษ์ สุวรรณเสรี และอาคม ศรียาภัย. (2563). กฎหมายและคดีอาวุธปืน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
สหพัฒน์ หอมจันทร์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนในประเทศไทย: ศึกษากรณีมาตรการทางกฎหมายอาญากับมาตรการทางกฎหมายการคลัง. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 5(1), 54.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2564). ตำรวจไซเบอร์ทลายโกดังขายปืนออนไลน์ พบอาวุธปืนเถื่อนกว่า 2,000 กระบอก ลูกกระสุนปืนกว่า 1 ล้านนัด มูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก https://policetv.tv/archives/19583.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2545). เคล็ดลับการทำวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
อนัญญา กันเพ็ง. (2564). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน. วิทยานินธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ: เน้นวิธีวิเคราะห์เมตต้า. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.
Cooper, D. R. (2007). Business research methods (9th ed.). New York:McGraw-Hill.
Gilson, L. (2014). Qualitative research synthesis for health policy analysis: What does it entail and what does it offer? Health Policy and Planning, 29(2), 4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา