มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจขายห้องชุดของประเทศไทย

Legal Measures in Regulating Condominium Business Operators in Thailand

ผู้แต่ง

  • จราวุฒิ อำนักมณี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณฐ สันตาสว่าง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุเมธ รอยกุลเจริญ ศาลปกครอง

คำสำคัญ:

ห้องชุด, ผู้ประกอบธุรกิจขายห้องชุด, พระราชบัญญัติอาคารชุด

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจขายห้องชุดตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ และเสนอแนวทางปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจขายห้องชุดของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม ซึ่งแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มีปัญหาทางกฎหมายได้แก่ กรณีผู้ประกอบการไม่ใช้สัญญามาตรฐานตามที่พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ ไม่จัดให้มีทรัพย์ส่วนกลางตามที่ได้โฆษณา และการใช้ระบบดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ต้องอาศัยความสมัครใจของคู่สัญญา ส่วนกฎหมายสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธรัฐมาเลเซียกำหนดให้สัญญาและโฆษณาขายห้องชุดต้องผ่านการตรวจสัญญาและโฆษณาจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้ผู้ขายต้องจัดให้มีระบบคุ้มครองเงินที่ผู้ซื้อได้ชำระไว้ จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่...) พ.ศ...โดยกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสัญญาและโฆษณาขายห้องชุดก่อนผู้ประกอบการนำไปใช้ และกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่เปิดบัญชีสำหรับเก็บรักษาเงินที่ผู้ซื้อได้ชำระ กรณีเกิดข้อพิพาทในการซื้อขายควรระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี

References

จรัญ โฆษณานันท์. (2552). นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 20.

จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ. (2558). การคุ้มครองผู้บริโภคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 กรณีศึกษาแบบของสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). หน้า 3.

จำปี โสตถิพันธุ์. (2546). คำอธิบายกฎหมายลักษณะซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน. หน้า 333.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2535). กฎหมายว่าด้วยสัญญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 83.

ดาราพร ถิระวัฒน์. (2542). กฎหมายสัญญา : สถานะใหม่ของสัญญาปัจจุบันและปัญหาข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 9.

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์. (2560). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 34.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2553). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม. หน้า 427.

บุญศรี มีวงษ์อุโฆษ. (2538). กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเยอรมัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม. หน้า 54.

ภาคภูมิ ปิยะตระภูมิ. (2558). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม. หน้า 25.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2558). คำอธิบายนิติกรรมสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 24.

สุธาบดี สัตตบุศย์. (2522). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เปรียบเทียบ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 2-3.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2564). สคบ.กับการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. หน้า 15.

อมเรศ กระบวนสิน วิกรณ์ รักษ์ปวงชน และวิมาน กฤตพลวิมาน. (2561). กฎหมายอาคารชุด เปรียบเทียบของประเทศไทยกับรัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 5.

อภิชน จันทรเสน. (2549). มาตรการต่างๆ ของรัฐในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ. วารสารกฎหมาย ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 พฤศจิกายน. หน้า 465.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06