ประวัติศาสตร์ชุมชนกับการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา ชุมชนสามเรือน ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Community History and Tourism: Case Study in Samruern Community, Samruern Sub–District, Bang Pa–In District, Ayutthaya Province

ผู้แต่ง

  • เอกพล วิงวอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • วีรพล น้อยคล้าย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์ชุมชน, การท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพชุมชนสามเรือนและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนสามเรือน 2) เพื่อสร้างแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนสามเรือน วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนสามเรือนมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับพื้นที่บางปะอินตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากทำเลที่ตั้งของชุมชนอยู่ริมลำคลองสายหลักอย่าง “คลองโพธิ์” ที่เป็นลำน้ำสายรองที่ไหลมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่ทางตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา การตั้งถิ่นฐานของคนในชุมชนสามเรือนตั้งแต่เริ่มแรกแสดงให้เห็นถึงที่มาของชื่อชุมชน ชื่อหมู่บ้านที่มีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ภายในชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน ชุมชนได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น คือ เห็ดตับเต่า มีประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ ประเพณีอาบน้ำคืนเพ็ญ และการทำกระทงตาลปัตร 2) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยเฉพาะอัตลักษณ์ของชุมชน คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีการจัดกิจกรรมงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน มาช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่สำหรับการท่องเที่ยวชุมชนทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ชุมชนต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชนสามเรือน สร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของท้องถิ่นตนเอง และเป็นการสร้างการเรียนรู้ในชุมชนผ่านการเล่าเรื่อง ชุมชนต้องมีการพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะทางด้านมัคคุเทศก์ท้องถิ่นหรือปราชญ์เล่าเรื่องชุมชนในการเผยแพร่ข้อมู้ลทางด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนต่อสาธารณชน และเป็นการสืบทอดการถ่ายทอดองค์ความรู้เดิมผ่านการเล่าเรื่องชุมชนไม่ให้สูญหายไป

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว ภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถี ชีวิตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง (พ.ศ.2560-2564). พระนครศรีอยุธยา : กระทรวงการท่องเที่ยวและ กีฬา

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2553). การเป็นสมัยใหม่กับแนวคิดชุมชน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์.

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2551). อยุธยา เมืองท่านานาชาติ. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 41-43

บุญสมหญิง พลเมืองดีและคณะ (2559). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่., 9(3), 167-177

ภัทราพร จันตะนี (2557). การจัดการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนเห็ดตับเต่า ตำบล สามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ยงยุทธ ชูแว่น (2551). ครึ่งศตวรรษแห่งการค้นหาและเส้นทางสู่อนาคตประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ยศ บริสุทธิ์ (2558). การศึกษาชุมชน : แนวคิดฐานการวิจัย และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. ขอนแก่น : โรง พิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วณิฎา ศิริวรสกุล และวัชรินทร์ อินทพรหม (2559). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏ พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์., 11(1)

ศรีศักร วัลลิโภดม (2553). กรุงศรีอยุธยาของเรา. (พิมพ์ครั้งที่ 8) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (2556). เพื่อแผ่นดินเกิด. กรุงเทพฯ:มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ศรีศักร วัลลิโภดม (2560). ลุ่มน้ำเจ้าพระยา:รากเหง้าแห่งสยามประเทศ. กรุงเทพฯ:มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2562). สุวรรณภูมิในอาเซียน : เรือพระราชพิธี กรุงศรีอยุธยา ล่องไปทำพิธีกรรมบางปะอิน. กรุงเทพฯ : มติชนออนไลน์

เสรี พงศ์พิศ (2552). วิถีสู่ชุมชนพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พลังปัญญา.

สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2559). แผนพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2561-2564). พระนครศรีอยุธยา : สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์ (2561). การจัดการชุมชน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06