การจัดการฐานข้อมูลสุขภาพด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
Health Database Management by Developing Information Systems for the Promotion of Health of the Sport Science Center, Thailand National Sports University
คำสำคัญ:
ฐานข้อมูลสุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ, ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาการจัดการฐานข้อมูลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมสุขภาพของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมสุขภาพของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากร เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา นักศึกษา และสมาชิกศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลในหน้าหลักของระบบสารสนเทศได้ รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการด้วยระบบสารสนเทศเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและพื้นที่ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล การออกแบบและการพัฒนา ทำให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลสมาชิก ประวัติการออกกำลังกาย คลาสออกกำลังกาย ความสำเร็จในการออกกำลังกาย โปรแกรมออกกำลังกาย สมรรถภาพทางกาย สภาพการใช้งาน อุปกรณ์ในศูนย์ฯ การลงเวลาเข้าใช้บริการ การออกรายงานการแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงวันหมดอายุของสมาชิก โดยผู้ใช้งานมีความพึงพอใจด้านการออกแบบหน้าจอติดต่อกับผู้ใช้งาน ( = 4.41) ด้านความยากง่ายในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 4.32) ด้านความปลอดภัยของข้อมูล ( = 4.39) และด้านลักษณะโดยรวมของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 4.44) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2560 – 2564. สืบค้น 31
สิงหาคม 2562, สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8408
ไกรทพนธ์ เติมวิทย์ขจร, ศิริชัย นามบุรี และนิมารูนี หะยีวาเงาะ. (2559). รายงานวิจัย เรื่องการพัฒนาระบบ
สารสนเทศเพื่อการจัดการหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,
ยะลา.
พีรทัต แก้วกระจ่าง และธนวัฒน์ พฤกษาชีวะ. (2562). ระบบบริหารจัดการฟิตเนส. ภาคนิพนธ์ บธ.บ.
(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ), มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.
ภัทรพงษ์ แซ่ตั้ง และศักดิ์ชัย ศิโรรัตนพาณิชย์. (2557). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลหลักสูตรออนไลน์ตามกรอบ
มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเพื่อสนับสนุนงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
รัตนโกสินทร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครปฐม.
สนั่น หวานแท้. (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและการสืบค้นสำหรับการบริหารงานบุคคล
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สาวิตรี ทองชิต, ณัฐพล ทองฤทธิ์และพิกุล สมจิตต์. (2562). การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลฟิตเนส: กรณีศึกษา
ยิมฮีโร่. ในการการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. (น. 273-274). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุรัตน์ ทองหรี่. (2556). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการค้นหาและจัดการบทความวิชาการและบทความ
วิจัย : กรณีศึกษาวารสารวิชาการคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยานิพนธ์ วท.ม., มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
หทัยชนก แจ่มถิ่น. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับ
บัณฑิตศึกษา สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 8(2), 893 – 911.
อัมฤทธิ์ จิระพันธ์วัฒนา. (2562). พัฒนาแอปพลิเคชันแจ้งเตือนการเลือกคลาสฟิตเนสผ่าน
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. วันที่ 19 มกราคม 2562, หน้า 1945-1958.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา