พื้นที่ความรู้ อัตลักษณ์และการปรับตัวของคนพลัดถิ่น : กรณีศึกษา ชาวไทยพวน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
พวน, ลาว, กลุ่มชาติพันธุ์บทคัดย่อ
บทความเรื่อง พื้นที่ความรู้ อัตลักษณ์และการปรับตัวของคนพลัดถิ่น : กรณีศึกษา ชาวไทยพวน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างพื้นที่ความรู้ทางวัฒนธรรม การธำรงอัตลักษณ์และการปรับตัวของชาวไทย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจิตสำนึกของความเป็นคนไทย ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ในขณะเดียวกัน ก็มีสำนึกของความเป็นคนลาว ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน ส่งผลให้ชาวไทยพวนมีความพยายามฟื้นฟู และรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตนเองเอาไว้ ด้วยการสร้างพื้นที่ความรู้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและเป็นสัญลักษณ์ในการแสดงตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่อสังคมภายนอก ตลอดจนมีความพยายามในการปรับตัว เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางคนต่างกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม
References
คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2555). แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภารดี มหาขันธ์. (2554). การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออกยุคต้น (ยุคก่อนประวัติศาสตร์-รัตนโกสินทร์ตอนต้น). ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร. (2547). ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). จินตนาการทางมานุษยวิทยาแล้วย้อนมองสังคมไทย. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). ทวนคลื่นความคิด กึ่งศตวรรษไทยศึกษา.เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คำหมั้น วงกดรัดตะนะเจ้า. (2516). พงสาวะดานชาดลาว ความเปนมาของชาดแต่ดึกดำบัน. เวียงจัน: หอสมุดแห่งชาด นะคอนเวียงจัน.
คำหมั้น วงกดรัดตะนะเจ้า. (2509). กาบเมืองพวน. เวียงจัน: กะซวงทำมะกาน.
คำหมั้น วงกดรัดตะนะเจ้า. (1967). พงสาวะดานเมืองเชียงขวาง. เวียงจัน: กะซวงสึกสา สะถาบันค้นคว้าวิดทะยาสาดสังคม.
สิลา วีละวงและมอม อุเทนสักดา. (2510). นิทานขุนบูลมราชาทิราด สะบับที่ 1 ปวัดสาดลาวสะบับเดิม. เวียงจัน: กะซวงทำมะกาน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา