คุณลักษณะที่เป็นจริงและคาดหวังของนักศึกษาภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สุวณี วิจารัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ชิดชัย สนั่นเสียง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของนักศึกษา, คุณลักษณะที่เป็นจริงของนักศึกษา, คุณลักษณะที่ คาดหวังของนักศึกษาการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่เป็นจริงของนักศึกษา 2) ศึกษาคุณลักษณะที่คาดหวังของนักศึกษา  และ 3) ศึกษาการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษาภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา ภาควิชามนุษยศาสตร์ จำนวน 210 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยวิธี PNImodified

ผลการวิจัยพบว่า

  • นักศึกษาภาควิชามนุษยศาสตร์ มีคุณลักษณะที่เป็นจริง ภาพรวม 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าสูงสุด คือ ด้านอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • นักศึกษาภาควิชามนุษยศาสตร์ มีคุณลักษณะที่คาดหวังภาพรวม 6 ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าสูงสุด คือ ด้านอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย รองลงมาคือ ด้านความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  • นักศึกษาภาควิชามนุษยศาสตร์ จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และด้านคุณธรรมจริยธรรม

References

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2554). CC,PR กรอบใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2554). กลยุทธ์การสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิศา สงวนสัจ มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์ และศศิมา พึ่งโพธิ์ทอง. (2554). รายงานการวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2545 ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2552ของวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี ชัยนาท. (เอกสารโรเนียว).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานผลการวิจัยเรื่องภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานผลการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์.

Mishra, Punya and Kereluik, Kristen (2012). What 21 st Century Learning, A Resiew and a Syntheses (online). Avaliable from http://www.punya.edu.msu.edu/bublications/21stCentury knowledge_PM.-KK.pdf C November18.

North Central Regional Laboratory & Metiri Group. En Gauge 21 st Century skills : Literacy inThe Digital Age. Chicago : North Central Regional Educational Laboratory.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06

How to Cite

วิจารัตน์ ส., & สนั่นเสียง ช. (2022). คุณลักษณะที่เป็นจริงและคาดหวังของนักศึกษาภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 3(2), 1–16. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260432