หลักการพื้นฐานว่าด้วยความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ: กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงภัย

ผู้แต่ง

  • พันธรัตน์ ศรีสุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พินิจ ศรีสวัสดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความรับผิดของรัฐ, ความเสี่ยงภัย, เจ้าหน้าที่ของรัฐ

บทคัดย่อ

ในการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในบางกรณีย่อมมีความเสี่ยงภัยที่แตกต่างจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยทั่วไป เช่น การปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์การชุมนุม การปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ที่มีเหตุการณ์ก่อการร้าย หรือการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ซึ่งมีภัยพิบัติ ย่อมทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นมีความเสี่ยงภัยมากกว่าการปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความเสียหายย่อมทำให้รัฐจำเป็นที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดให้มีลักษณะแตกต่างจากการปฏิบัติหน้าที่โดยทั่วไป

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการพื้นฐานว่าด้วยความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ  แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดของรัฐทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความแน่นอนชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างหลักประกันและสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

References

กนกวรรณ ชูชีพ. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กาญจน์กนก อติสุธาโภชน์. (2551). ความรับผิดอย่างอื่นของฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542: ศึกษาเปรียบเทียบกับความรับผิดของฝ่ายปกครองในระบบกฎหมาย ฝรั่งเศสและเยอรมัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฌ็อง ริแวร์โต และฌ็อง วาลีน. (2545). หลักกฎหมายปกครองฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2547). หลักพื้นฐานกฎหมายปกครองฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

นิตยา ศรลัมพ์. (2537). การให้รางวัลและการลงโทษข้าราชการตารวจในจังหวัดชายแดนภาคใต้: ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2552). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ประยูร กาญจนดุล. (2538). คำบรรยายกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฤทัย หงส์สิริ. (2543). ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. วารสารการพาณิชยนาวี. 40-42.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง: หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

หยุด แสงอุทัย. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28

How to Cite

ศรีสุวรรณ พ., ศรีสวัสดิ์ พ., & นรนิติผดุงการ ต. (2022). หลักการพื้นฐานว่าด้วยความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ: กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงภัย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 4(1), 218–232. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260422