รามเกียรติ์: การปรับเปลี่ยนจากวรรณคดีราชสำนักสู่เพลงสมัยนิยม
คำสำคัญ:
รามเกียรติ์, วัฒนธรรมประชานิยมบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนจากวรรณคดีสู่เพลงสมัยนิยม โดยมีขอบเขตในการศึกษาเป็นเพลงที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ที่มีการสร้างสรรค์ขึ้นแล้วเผยแพร่ในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2559 จำนวน 11 เพลง เมื่อนำมาจัดกลุ่มจะแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือกลุ่มเพลงที่อ้างถึงเหตุการณ์จากวรรณคดีโดยตรง กลุ่มที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกเสมือนตัวละครเล่าเรื่อง และกลุ่มที่อ้างถึงตัวละครเพื่อเสริมอารมณ์ของเพลง ผลการศึกษาพบว่าเพลงส่วนมากได้อ้างถึงเหตุการณ์และเรื่องราวตามตัวบทรามเกียรติ์อย่างถูกต้อง และมีบางเพลงที่มีเนื้อหาไม่ตรงตามตัวบทดั้งเดิม การใช้คำระดับปาก สำนวนภาษาสมัยใหม่ แต่มีการแทรกคำ สำนวนเก่าหรือคำระดับสูง ลงไปปะปนในเพลงด้วย บางเพลงมีการใช้เครื่องดนตรีไทยและรูปแบบการเอื้อนประกอบด้วย สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนในสมัยปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนบทบาทรามเกียรติ์จากวรรณคดีราชสำนักไปสู่การเป็นต้นทางของการสร้างสรรค์เพลงสมัยนิยม ทำให้ผู้คนเข้าถึงรามเกียรติ์ได้ง่ายขึ้นแต่ยังเป็นที่รู้จักในฐานะวรรณคดีเอกอยู่
References
กุสุมา รักษมณี . (2537). สีสันวรรณคดี ชุด บทวิจารณ์ชีวิต.กรุงเทพฯ:. ดอกหญ้า.
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก,พระบาทสมเด็จพระ. (2554). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1-4. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2553). สืบสานสร้างสรรค์วรรณศิลป์.กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์. 100.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: ณ เพชร สำนักพิมพ์.
รัชรินทร์ อุดเมืองคำ.(2551). การศึกษาวรรณกรรมตามแนววัฒนธรรมประชานิยมเรื่องสังข์ทองฉบับต่างๆ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต. นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรพงศ์ หงส์สุวรรณ. (2550). มหาภารตรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
วัฒนะ บุญจับ(บรรณาธิการ). (2550). บัณณ์ดุรีย์: วรรณคดีกับเพลง เล่ม 2. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,.
ส.พลายน้อย. (2549). วรรณคดีอภิธาน.กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.
องอาจ โอ้ลม. (2555). วรรณคดีศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:ทริปเพิ้ล กรุ๊ป, 168-169.
จำเรียง จันทรประภา (5 มกราคม 2552) วัฒนธรรมประชานิยม. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2559 จาก http://www.royin.go.th/?knowledges
แต้ ศิลา. (18 มิถุนายน 2559). หนุมาน (ก็คิดถึง) [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=G7M-YMJy5zc
มิ๊กซ์ เซมเบ้. (28 พฤษภาคม 2559 ) พระราม (ขอโทษที่หูเบา) [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=VCcqzdoKsdk
วิรดา วงศ์เทวัญ.(6 มิถุนายน 2559 ).คนข้างเธอ [เมียทศกัณฐ์] [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=0GAM7eFs-Wo
วัฒนะ ชลสงคราม. (30 พฤษภาคม 2559 ).ทศภัทร์จากลา [คนไม่ใช่จะไปเอง] [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=NsWHmu2rkig
นัตต้า. (29 พฤษภาคม 2559 ). พระราม - RAMA [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=x5aggxBqL3w
บดีศร ศรีสุนทร. (7 มิถุนายน 2559) พิเภก (ทำนายความรัก) [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=VAhsHBUtXJc
บุหลัน คชรมย์ . (3 มิถุนายน 2559).สุวรรณมัจฉา (สุพรรณมัจฉา) [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=BdFpZCdmU4Y
ปืน ซีพราย. (29 พฤษภาคม 2559 ). พระรามอกหัก - [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=pVYZaSqtw-Q
Feedback Band. (15 มิถุนายน 2559 ).พระลักษมณ์ (ผู้เสียสละ) [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=uuh8kByHIfk
Leo Inclube. (25 พฤษภาคม 2559).ตัวร้ายที่รักเธอ「ทศกัณฐ์」- Cover By Leo Inclube [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=YDfl3e3T9Og
The Rube. (17 มีนาคม 2559). I'M SORRY (สีดา) | ( OFFICIAL MV ) [Video file]. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=CQbO1bDRTPA
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา