การศึกษาคัมภีร์อัล-กุรอานในประเทศไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการอ่านคัมภีร์อัล-กุรอาน ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คัมภีร์อัล-กุรอาน, การอ่านอัล-กุรอานบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเกี่ยวกับการอ่านคัมภีร์อัล-กุรอานแบบต่าง ๆ ใน ชุมชนมุสลิมเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสังเกตจาก 4 สถาบันที่คัดเลือกเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาคือ การเรียนการสอนคัมภีร์อัล-กุรอานตามบ้าน โรงเรียนริดวานุ้นอิสลาม สมาคมกอรีแห่งประเทศไทย และศูนย์ญะมาอัตตับลีฆ มีนบุรี
จากการศึกษาเกี่ยวกับการอ่านคัมภีร์อัล-กุรอานพบว่า การอ่านคัมภีร์อัล-กุรอานนั้นได้มีการพัฒนามาในประวัติศาสตร์วิชาการอิสลาม จนเป็นวิชาหนึ่งของการศึกษาคัมภีร์อัล-กุรอาน เนื่องจากการอ่านนั้นถือว่าเป็นกิจกรรมพื้นฐานของการเรียนรู้อิสลาม การรักษารูปแบบการอ่านคัมภีร์ และการถ่ายทอดศาสนาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
จากการศึกษาภาคสนาม 4 สถาบัน พบว่า การเรียนการสอนอ่านคัมภีร์อัล-กุรอานนั้นมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่สำคัญหลัก ๆ อยู่ 2 ประการคือ ประการแรก เพื่อการรักษารูปแบบการอ่านที่ถูกต้อง และนำหลักคำสอนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ประการที่สอง เพื่อรักษาศิลปะการอ่านทำนองเสนาะ และการสอนเพื่อการท่องจำ
References
คัมภีร์อัล-กุรอาน. (1414). (ฉบับภาษาอาหรับ). ซาอุดิอาราเบีย : มัจญ์มะอ์ คอดิม อัล-หะเราะมัยน์ อัชชะรี ฟัยน์ อัล-มะลิกฟะฮัด ลิฏิบาอะฮ์ อัลมุศฮัฟ อัชชะรีฟ.
ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. (2523). ความหมายของอัล-กุรอาน (ฉบับภาษาไทย). เล่ม 1,2,3, กรุงเทพฯ : วุฒิกรการพิมพ์.
ปัทมา หมัดนุรักษ์.(2529). การผลิตหนังสือศาสนาอิสลามที่เขียนเป็นภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา