คุณค่าของความเบื่อ

ผู้แต่ง

  • คงกฤช ไตรยวงค์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความเบื่อ, คุณค่า, ภาวะสมัยใหม่, ความหมายชีวิต, เรื่องเล่า

บทคัดย่อ

ความเบื่อเป็นอาการสมัยใหม่ที่ไม่อาจเยียวยาให้หายขาดได้ทำได้เพียงหลบหนีได้ชั่วคราว ความเบื่อคือการที่เราไม่อาจจะยึดโยงตัวเองกับคนอื่น ไม่สามารถให้ความหมายต่อการกระทำ หากพิจารณาในแง่การวิเคราะห์วัฒนธรรม ประสบการณ์ก่อนสมัยใหม่อย่างการทำซ้ำทำให้เกิดความเบื่อที่ผ่อนคลาย เนื่องจากคนยึดโยงตัวเองกับชุมชนผ่านเรื่องเล่า การเล่านิทาน การละเล่นของเด็ก แต่เมื่อความเป็นสมัยใหม่มาถึง ความเป็นเมืองขยายขึ้น ความเบื่อที่เกิดจากการทำซ้ำ ๆ กลับไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย หากแต่ทำให้รู้สึกเบื่อจนทนไม่ไหว บทความชิ้นนี้มุ่งเสนอว่าความเบื่อมีคุณค่าเชิงสร้างสรรค์ การจัดการกับความเบื่อก็คือการกลับไปหาเรื่องเล่าที่จะถักทออัตลักษณ์ขึ้นมา ซึ่งโดยนัยแล้วมีเรื่องราวคนอื่นทาบทอร่วมอยู่ด้วย เพื่อจะจัดการกับเวลาให้มีความหมายอันจะทำให้การฉายภาพโครงการของชีวิต (existential project) กลับมามีความหมาย นั่นคือ เวลาอนาคตเข้ามากำกับปัจจุบัน แทนที่จะปล่อยให้เวลาปัจจุบันเนื่องไหลไปเรื่อยด้วยการรออย่างไรเป้าหมาย ในแง่นี้ ความเบื่อเป็นความรู้สึกลบที่เป็นเงื่อนไขให้เกิดความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้นนั่นเอง

References

Kearney, Richard. (1999). Poetics of Modernity: Toward A Hermeneutic Imagination. New York: Humanity Books.

McDonald, William. (2009) “Kierkegaard's Demonic Boredom” in Essays on Boredom and Modernity. Barbara Amsterdam : Brill Academic Publishers.

Moran, Joe. (2003). “Benjamin and Boredom,” in Critical Quarterly, vol. 45, nos. 1-2: 168-181

Ricoeur, Paul. (1992). Oneself as Another. Kathleen Blamey, trans. Chicago: The University of Chicago Press.

Salzani, CarloDallePezze. (2009). “The Atrophy of Experience: Walter Benjamin and Boredom,” in Essays on Boredom and Modernity. Barbara Amsterdam : Brill Academic Publishers.

Svendsen, Lars. (2008). A Philosophy of Boredom. John Irons, trans. London: Reaktion Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27